วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

entropy-enthalphy

ที่มา  http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X7880696/X7880696.html

    Enthalpy กล่าวในเทอมพลังงาน
    Entropy บอกถึงความไม่เป็นระเบียบ 


    จากคุณ : oakemon

    + คนละตัวแปรกันเลยครับ คุณ oakemon สรุปชัดเจนแล้วครับ
    Enthalpy (H) มีหน่วยเป็น  J/mol
    Entropy (S) มีหน่วยเป็น J/K mol 
    + เมื่อ dG = dH - TdS (ถ้าทราบ dG ที่ T ต่างๆ ก็สามารถหาค่า dH และ dS ได้ครับ)

    + เมื่อ dG = พลังงานอิสระ มีหน่วยเป็น  J/mol

    + ดังนั้น dS หาได้จากความชันของกราฟที่ำพล๊อตระหว่าง -dG และ T (dH ก็กลายเป็น intercept ตามเคย แต่ไม่มีชาวบ้านใช้กัน เพราะค่ามักคลาดเคลื่อน)

    + และ dH หาได้จากความชันของของกราฟที่ำพล๊อตระหว่าง -dG/T และ 1/T (dS ก็กลายเป็น intercept ตามเคย แต่ไม่มีชาวบ้านใช้กัน เพราะค่ามักคลาดเคลื่อน)

    + ถ้า dS เป็น (+) แสดงว่าระบบกำลังเข้าสู่ความยุ่งเหยิง (ซึ่งเป็นทิศทางที่เป็นไปได้มากกว่า) ในทางกลับกันถ้าเป็น (-) แสดงว่าระบบกำลังเข้าสู่ความเป็นระเบียบ
    เช่น การนำน้ำร้อน + น้ำเย็น ==> น้ำอุ่น แสดงว่าระบบเข้าสู่ความยุ่งเหยิง เพราะน้ำร้อน และน้ำเย็นผสมปนเปกัน
    ในทางกลับกันถ้าแยก น้ำอุ่น ==> น้ำร้อน + น้ำเย็น ระบบเข้าสู่ความเป็นระเบียบ ซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่เกิดขึ้นไม่ได้เอง (spontaneous)

    + ในขณะที่ dH ถ้าเป็น (+) แสดงว่าระบบกำลังดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม (ในทางเคมี) แต่ในทางวิศวกรรมมักจะศึกษาจากระบบเป็นหลักมากกวาสิ่งแวดล้อมก็เลยกำหนดว่า"ระบบกำลังดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม" มีค่า dH เป็น (-)
    ในทางกลับกัน ถ้า dH เป็น (-) ในทางเคมีนะ ก็จะมีความหมายก็จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม

    แก้ไขเมื่อ 20 พ.ค. 52 13:30:53

    แก้ไขเมื่อ 20 พ.ค. 52 10:12:09 

    จากคุณ : in-situ

    เอนโทรปีบอกความไม่สามารถที่จะทำงานของระบบ

    จุดสำคัญอยู่ที่คำว่า "ไม่สามารถ"

    โดยนิยาม การเปลี่ยนแปลงของเอนโทรปี ใช้ dS = dQ/T โดยสิ่งนี้เอนโทรปีจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียพลังงานไปในรูปความร้อน

    ปรกติพลังงานจะสามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีความต่างศักย์ เช่นสมมุติอุณหภูมิห้อง 30 องศา อากาศก็มีพลังงานความร้อนอยู่ แต่พลังงานความร้อนนี้ไม่สามารถนำมาใช้ทำงานได้ แต่ถ้าอากาศอีกห้องหนึ่งมี อุณหภูมิ 0 องศา มีความต่างศักย์ของอุณหภูมิก็คือสามารถนำพลังงานมาใช้ได้ ด้วยระบบ Heat Engine (ให้หาเรื่อง OTTO Cycle อ่านเพื่อทำความเข้าใจ) ทีนี้เมื่อพลังงานถูกถ่ายไปสู่อีกห้องเพื่อทำงานแล้ว ท้ายสุดอุณหภูมิรวมของ 2 ห้องจะเท่ากันประมาณ 15 องศา (เพราะให้ห้องขนาดเท่ากัน) ในสภาพนี้คือสภาพพลังงานที่ไม่มีความต่างศักย์ ถึงแม้อากาศจะมีพลังงานแต่ไม่สามารถเอามาใช้งานได้ การสูญเสียความสามารถในการทำงานนี้คือสิ่งที่ Entropy บ่งชี้ 

    ตัว Enthalpy บ่งชี้คือศักยภาพพลังงานของระบบ ในกรณ๊ที่ Enthalpy ของระบบลดลงก็คือระบบทำงานออกไปหรือสูญเสียพลังงานออกไป ในขณะที่ Enthalpy ถ้าเพิ่มขึ้นคือมีการรับศักยภาพพลังงานเข้ามาครับ

    โดยสรุป Entropy ระบุ การสูญเสียความสามารถในการทำงาน
    Enthalpy ระบุ ศักยภาพพลังงาน

    การใช้งานของ Entropy และ Enthalpy จะไม่ใช้เป็นค่า Absolute แต่จะใช้เป็นค่า difference เพราะทั้ง 2 ตัวจะเกี่ยวข้องกับจุดอ้างอิง อย่างศัยกภาพพลังงานถ้าเทียบกับจุด 0 Kelvin มันก็ดูเยอะ แต่ใช้งานได้จริงต้องเทียบกับอุณหภูมิของระบบที่ทิ้งออกไปเช่นอุณหภูมิห้องเป็นต้น 


    จากคุณ : Darth Prin

    ถ้าเปรียบเทียบระบบ thermodynamics เป็นคนพับถุง

    สมมุติว่า นาย ก. มีแรงพับถุงได้ 100 ใบต่อวัน

    แรงงานของนาย ก. ในการพับถุงคือ พลังงานภายใน
    ส่วนถุงที่พับออกมา คือ งานที่เกิดขึ้น

    เอนทาลปี คือ ผลรวมของพลังงานภายในกับงานที่ออกมา

    ถ้าวันนี้นายก็ยังไม่ได้พับถุงเลย แรงงานของนาย ก. ก็คือเอนทาลปี
    ถ้านาย ก. พับถุงได้ 100 ใบจนหมดแรง ถุง 100 ใบ ก็คือ เอนทาลปี
    ถ้านาย ก. พับถุง 50 ใบ เหลือแรงอีกครึ่งหนึ่ง เอนทาลปี คือ แรงที่เหลือและถุง 50 ใบ

    ส่วน เอนโทรปี คือ ค่าที่บอกว่ากระบวนการพับถุงนั้นเป็นไปได้อย่างดีอย่างร้ายอย่างไร ยุ่งเหยิงเพียงใด รวมถึงเป็นตัวบอกว่ากระบวนการนั้นย้อนกลับได้หรือไม่

    นาย ก. พับถุงออกมายุ่งเหยิงเละเทะ เอนโทรปีมาก 
    ถ้าพับเป็นระเบียบมีแบบแผน เอนโทรปีน้อย

    การบวนการย้อนกลับได้คืออะไร

    นาย ก. เปลี่ยนแรงงานในร่างกายเป็นถุงที่พับออกมา แต่นาย ก. ไม่สามารถเปลี่ยนถุงที่พับแล้ว ให้กลับมาเป็นแรงกายได้ นี่คือกระบวนการที่ย้อนกลับไม่ได้

    นาย ก. เอาถุงไปขายเป็นเงิน และเอาเงินไปซื้อถุงกลับมา นี่เป็นกระบวนการที่ย้อนกลับได้

    ถ้าเอนโทรปี เป็น 0 คือ กระบวนการย้อนกลับไปมาได้ (แบบสมบูรณ์)
    ถ้าเอนโทรปี ยิ่งมาก ยิ่งแสดงว่าโอกาสที่จะย้อยกระบวนการแทบเป็นไปไม่ได้เลย

    และเอนโทรปีติดลบไม่ได้

    นักวิทยาศาสตร์เคยคำนวนออกมาว่า เอนโทรปีของจักรวาลมีค่าเพิ่มขึ้น แสดงว่าจักรวาลนั้นกำลังขยายตัวออกไป และยุ่งเหยิงมากขึ้น 


    จากคุณ : h

    คุณ h และคุณ Darth Prin สุดยอดอ่ะ 

    จากคุณ : in-situ

ขนมชั้น

ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=farasskyandsnowpink&month=04-05-2009&group=3&gblog=18
















สวัสดีค่ะเพื่อน วันหยุดวีคเอ็นทำอะไรกันบ้างคะ
วันเสาร์ที่ผ่านมา แพรนั่งเป็นแม่ซี่เรือนทำขนมไทยอยู่บ้านค่ะ
เพราะเตรียมนำขนมไทยไปโบสถ์ด้วย วันอาทิตย์
เพราะทุกวันอาทิตย์ของต้นเดือน

เราจะนำอาหารของแต่ละรอบครัวมาทานด้วยกันที่โบสถ์
อาหารควมแพรทำทอดมันไก่กราย กับข้าวเหนียว
ข้าวเหนียวนี่ประจำค่ะ ทำไปทุกเดือน และจะไม่เหลือกลับบ้านสักนิด
ฝรั่งชอบข้าวเหนียวกันมากๆ
และครั้งนี้เมนูของว่าง แพรทำขนมแบบไทยๆไปค่ะ
มีขนมชั้นกุหลาบ กับ ข้าวเหนียวแก้ว แอบเอามะม่วงวางด้วย

แพรก็นั่งประดิษฐ์ประดอบอยู่ค่อนวันค่ะ ทำให้มันเล้กๆ
ดูน่ารัก ชิ้นพอคำ เพราะแพรเองไม่แน่ใจว่าฝรั่งเค้าจะชอบใหม
ทำชิ้นใหญ่เดี๋ยวจะเสียของ ถ้าเกิดไม่ชอบขึ้นมา
และเด็กก้เยอะด้วย ทำน่ารักๆ เด็กๆชอบค่ะ

แพรนั่งทำไปชิมไปจนอิ่มไปเลย สามีก็อิ่มค่ะ ตกลงวันนั้นไม่ได้ทานข้าวกลางวันกัน

อ้อแพรนั่งเย็บใบตองเองด้วย ไม่คิดว่าจะออกมาสวย
ใบตอบก็แช่แข็งมาซะ ไม่เหมือนตัดใหม่จากต้นสีสวย สด กว่ากันเยอะเลยค่ะ



--->> รูปพร้อมขั้นตอนการทำ <<---



>> รูปการเย็บใบตอง <<









>> รูปพร้อมขั้นตอนการทำ ขนมชั้นกุหลาบ<<



ส่วนผสม

แป้งมัน 1 ¾ ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า ½ ถ้วย
แป้งถั่วเขียว 2 ชต.
กะทิ 2 ¾ ถ้วย
น้ำตาล 1 ¾ ถ้วย
น้ำลอยดอกไม้ 1 ½ ถ้วย แพรใช้น้ำเปล่า หยดกลิ่นมะลิลงไปค่ะ
สีผสมอาหารสีชมพู



ขั้นตอนการทำ

1. ต้มน้ำตาล กับน้ำ ให้น้ำตาลละลาย ยกลงจาะเตา ทิ้งไว้ให้เย็น
2. ผสมแป้งมัน แป้งข้าวเจ้า แป้งถั่วเขียว กะทิ และน้ำเชื่อม ค่อยๆคนเข้ากัน
3. แบ่งเป็น 2 ถ้วย ถ้วยใบหนึ่ง ผสมสีชมพูลงไป
4. นำถาด แพรใช้ถาดพายค่ะ ใส่ในซึ้งขึ้นตั้งไฟ รอให้ถาดร้อนก่อน
แล้วตักแป้งขนมชั้งลงไป ชั้นแรกใส่ สีขาว ประมาณ ½ - ¾ ถ้วย 
ดูไม่ให้หนาหรือบางเกินไปค่ะ แล้วปิดฝา นึ่งต่อ 5 นาที หรือ จนแป้งสุกเซทตัว
ตักแป้งสีชมพูใส่ต่ออีกชั้น นึ่งต่อไปอีก 5 นาที ทำสลับกันไปเรื่อยค่ะ
เสร็จแล้วนำออกมาพักไว้ให้เย็น ก่อนจะทำขั้นต่อไปค่ะ

** แพรใช้ผ้าคลุมฝาคลอบด้วย เพราะน้ำจะได้ไม่หยดลงในขนมชั้นค่ะ
** สูตรนี้แพรทำได้ 2 ถาดกับหัวใจอีก 2 ดวง








ต่อมามาพับดอกกุหลาบกันค่ะ

1. คว่ำถาดขนมชั้นลง แล้วตัดตรงกลาง 2 ชิ้นยาว กว้างประมาณ ½ - 1 นิ้วค่ะ
แล้วแต่ว่าจะทำดอกเล็กหรือใหญ่ 
2. ส่วนที่เหลือนั้นแพรกดรูปหัวใจไว้เป็นฐานรองดอกกุหลาบค่ะ
3. ต่อมา ส่วนที่ตัดไว้จะทำกุหลาบนั้น แยกออกจากชั้นที่ซ้อนกันก่อน
4. แล้วเริ่มพับค่ะ เริ่มจากการม้วนเข้ามาทำเป็นแกนกลาง แล้วที่เหลือพับลงหลัง 45 องศา
หมุนไป แล้วพับลงหลังอีกไปเรื่อยๆจนสุดค่ะ อธิบายไม่ค่อยจะถูก ดูภาพประกอบนะคะ
** แล้วก็พับไปหลายๆดอกตามต้องการค่ะ







>> ภาพและขั้นตอนการทำข้าวเหนัยวแก้ว <<

ส่วนประกอบ

ข้าวเหนัยว 1 ½ ถ้วย
น้ำตาลทราย ½ ถ้วย
เกลือ ¼ ชช.
กะทิ ¼ ถ้วย
งาขาว ไว้โรยหน้า
สีผสมอาหาร ตามต้องการ แพรใช้สีชมพูค่ะ + น้ำเปล่า 1/8 ถ้วย



ขั้นตอนการทำ

1. นึ่งข้าวเหนียวจนสุก
2. ตั้งกะทะ ใส่ น้ำตาล น้ำ สีผสมอาหาร กะทิ น้ำตาล เกลือ ลงไปตั้งไฟกลาง
เคี่ยวจนน้ำตาลละลาย เทข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ๆตามลงไป เคี่ยวต่อไป
จะน้ำงวด
3. เทใส่ถาด พักไว้ให้เย็น
4. แล้วจะตัดเป็นก้อน หรืออัดใส่พิมพ์ ออกมาเป็นรูปต่างๆตามชอบค่ะ
แพรอัดใส่พิมพื รูปหัวใจ และดาว ที่เหลือตัดเป็นสี่เหลี่ยมค่ะ โรยงานิดหน่อย
และแอบมีมะม่วงตัดเป็นรุปดาว รูปหัวใจมาวางด้วย สร้างความเก่ น่ารักค่ะ








>> มาดูภาพเสร็จสมบูรณ์ทุกอย่างกันเลยค่ะ เยอะหน่อยนะคะ <<




ภาพแรกมาแล้วค่ะ แตกแต่งสวยงาม ตามแบบขนมไทย









เสร็จทุกอย่างแล้วแพรก็มาจัดใส่ถาดไว้ค่ะ สำหรับโบสถ์วันอาทิตน์
มีดอกกุหลาบทั้งเล็กทั้งใหญ่ เลยค่ะ








ข้าวเหนียวแก้วเข้าแถวพร้อมแล้วค่ะ








ขนมชั้นก็พร้อมแล้วค่ะ

พอเอาไปโบสถ์แล้ว อย่างที่คิดไว้ค่ะ เป็นขวัญใจเด้กๆมาก
เด้กชอบชิ้นเล็กๆดูน่ารักๆแบบนี้ค่ะ

นี่จะเป็นไอเดียในการปรพกวดนางงามปีหน้าค่ะ
คือนางงามขนมชั้น ในโครงการขนมไทยใส่ไอเดีย

ขอบคุณเพื่อนที่มาเยี่ยมชมนะคะ
และขอให้มีความสุขกับสูตรรักครอบครัวแพรวานะคะ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คุกกี้คอร์นเฟลกซ์

    คุกกี้คอร์นเฟลกซ์ 
    ส่วนผสม 
    1. เนยสด 3/4 ถ้วย 
    2. น้ำตาลทรายป่น 1/2 ถ้วย 
    3. ไข่ไก่ 1 ฟอง 
    4. วานิลลา 1 ช้อนชา 
    5. ผงฟู 1/2 ช้อนชา 
    6. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 2 ถ้วย 
    7. คอร์นเฟลกซ์ 2 ถ้วย 
    8. ลูกเกดหั่นชิ้นเล็ก 1/4 ถ้วย 
    วิธีทำ 
    1. ตีเนยจนขึ้นเป็นครีมนวล ค่อยๆใส่น้ำตาลจนหมด ตีเข้าด้วยกันจนเป็นครีม ใส่ไข่ ตีให้เข้ากันจนขึ้นฟู 
    2. ใส่ลูกเกด คอร์นเฟลกซ์ และวานิลลา คนให้เข้ากัน 
    3. ร่อนแป้งสาลี ผงฟูเข้าด้วยกัน เทใส่ลงในส่วนผสมเนย คนให้เข้ากันเบาๆ 
    4. ปั้นคุกกี้เป็นก้อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เรียงใส่ถาดที่ทาเนยให้ห่างกันประมาณ 1/2 นิ้ว กดให้แบนเล็กน้อย 
    5. นำเข้าเตาอบ อบไฟประมาณ 350 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 15-20 นาที 
    6. เอาออกจากเตาอบ แซะออกจากถาด วางบนตะแกรง ทิ้งไว้ให้เย็น เก็บใส่ขวดโหลที่มีฝาปิด

     
     


    จากคุณ : คุณนายหนูน้อย (คุณนายหนูน้อย)

คุกกี้เนยชอคชิพ

ที่มา..http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2009/01/D7466436/D7466436.html




    *คุกกี้เนยชอคชิพ***  

    คุกกี้เนยสูตรนี้เป็นสูตรของ พี่ตรี Triny ค่ะ เป็นสูตรแรก ที่หัดทำ และเป็นสูตรเดียวที่ทำแล้วติดใจค่ะ แม่มิ้นท์บอกท้าให้ลองเลยต้องลอง พอลองแล้วก็ติดใจด้วยสิ  สูตรตามนี้เลยค่ะ 


    ลองจนแม้แต่สูตรยังก๊อปมา อิอิ ขี้เกียจพิมพ์อะ 

    1. แป้งอเนกประสงค์  240 กรัม
    2. ผงฟู 1 ชช
    3. เกลือ 1/2 ชช (เพิ่มเกลือ 1/8 ชช ถ้าใส่น้ำตาลเพิ่ม 2 ช้อนโต๊ะนะคะ)
    4. เนยสด(ถังทอง) 180 กรัม
    5. เนยขาว 20 กรัม
    6. น้ำตาลทราย  1/2 ถ้วย (ใครชอบหวานเพิ่มอีก 2 ช้อนโต๊ะได้ค่ะ)
    7. น้ำตาลทรายป่น  1/4 ถ้วย
    8. วนิลา  1 ชช
    9. เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบแล้วหั่นหยาบ 1/2 ถ้วย
    10. ลูกเกดเม็ดใหญ่หั่น  1/2 ถ้วย
    11. ชอคโกแลตชิปไว้แต่หน้าคุ้กกี้ ตามชอบค่ะ (ตรีใช้ไปประมาณ 70 กรัม)



    รายละเอียดส่วนอื่นก็ตามนี้ค่ะ 

    อบไฟ 175 องศาซี 
    เตาอบตรีตอนที่ใช้เป็นเตาอบเล็ก ใช้ไฟบนล่าง
    ตรีใส่ถาดคุ้กกี้ชั้นล่างสุด ประมาณ 12- 15 นาที
    แล้วเปลี่ยนถาดมาชั้นบน อบต่ออีกประมาณ 8-10 นาทีค่ะ
    หรือสังเกตุดูสีคุ้กกี้ให้เหลือง ๆ ก็ได้ค่ะ ... เผื่อเตาอบแต่ละบ้านจะต่างกันนะคะ ^^

    สูตรนี้ได้คุ้กกี้ประมาณ 60 ชิ้นค่ะ หนักประมาณสัก 700 กรัมได้ค่ะ





    ทำรูปให้ มึนๆ ซะงั้น ^^

     
     

    จากคุณ : inthemoon    - [ 28 ม.ค. 52 12:10:19 ]