วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

ชีววิทยา

ผมศึกษาชีววิทยาด้วยการตั้งคำถามว่า "มันทำงานเช่นนั้นได้อย่างไร" ไม่ใช่ "มันมีอะไรบ้าง"
การเรียนชีววิทยาทุกวันนี้จะกลายเป็นเรื่องไร้สาระ 
ถ้านักศึกษาสามารจำได้ทุกองค์ประกอบ แต่ไม่เข้าใจการทำงานของมัน
และนี่คือBiomimetics สาขาที่มุ่งเน้นเข้าใจชีววิทยาอย่างมี่จุดมุ่งหมาย

Biomimetics : Biologically Inspired Technologies

[ANIMAL REVIEW] ใครว่าสัตว์สังเคราะห์แสงไม่ได้?

คัดลอกจากกระทู้ของคุณตัวตุ่นตามัว

    การสังเคราะห์แสง เป็นกระบวนการเดียวที่ระบบนิเวศ
    ดึงเอาพลังงานจากนอกโลกเข้ามาสู่ห่วงโซ่อาหารได้
    พืชใช้แสงสร้างแป้ง ถ่ายทอดไปให้สัตว์นับร้อยพัน
    ถ้าเกิดไม่มีแสง สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้อยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน

    เมื่อก่อนนี้กระบวนการสังเคราะห์แสงถูกจำกัดว่าพบแค่ใน
    พืช สาหร่าย แบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น
    แต่การศึกษา (ที่ไม่ค่อยใหม่) ของนักวิทยาศาสตร์
    ก็เผยให้เห็นว่า มีสัตว์มหัศจรรย์สกุลหนึ่งที่สร้างอาหารได้เช่นกัน

     
     


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว

    สัตว์ตัวนี้คือ Elysia chlorotica ครับ
    ด้วยรูปร่างที่เหมือนใบไม้ลอยอยู่ในทะเลแถบแคลิฟอร์เนีย
    ผมขอเรียกมันว่า ทากชาเขียวละกันนะครับ
    นักวิทยาศาสตร์เริ่มสนใจสัตว์นี้ตั้งแต่ปี 1876 และพร้อมการทดลองมากมาย
    เปเปอร์วิจัยเกี่ยวกับสัตว์ตัวนี้มีมากทีเดียวครับ

    เพื่อดูว่าทำไมมันถึงมีสีเขียว
    ทำไมมันถึงสังเคราะห์แสงได้
    แล้วมันเอาคลอโรพลาสต์ (โครงสร้างที่ใช้สังเคราะห์แสง) มาจากไหน
    กระบวนการนี้มีผลต่อการอยู่รอดของมันมากน้อยเพียงไร
    องค์ความรู้ที่ได้สามารถประยุกต์ในเชิงพันธุวิศวกรรมและสั่นคลอนทฤษฎีวิวัฒนาการหรือไม่
    น่าตื่นเต้นมั้ยละครับ :)

    A = ด้านบน B = ด้านล่าง C = กินอาหารง่ำๆ D = อยู่กับเพื่อนๆ

     
     

    ที่น่าแปลกใจที่สุดก็ว่า
    แหล่งของคลอโรพลาสต์ที่มันได้มาเนี่ย
    มาจากอาหารหลักของมันครับ เป็นสาหร่ายชื่อ 
    Vaucheria litorea
    ทากชาเขียวไม่ได้เกิดมาพร้อมกับมีร่างกายสีเขียว
    สาหร่ายที่มันกินเนี่ยจะแปะเอาคลอโรพลาสต์ไว้ในร่างกายของมันตามทางเดินอาหารของมันซึ่งมีลักษณะแตกแขนงครับ
    ยิ่งโตขึ้น ก็ยิ่งแตกแขนง สีเขียวก็ยิ่งแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย กลายเป็นเขียวอึ๋ยทั้งตัวเหมือนใบไม้เลยครับ><" ทากชาเขียวแต่ละสายพันธุ์จะมีโครงสร้างปากที่ต่างกัน สัมพันธ์กับสาหร่ายซึ่งเป็นอาหารของมันว่าเป็นชนิดไหน เพราะคุณทากเนี่ย จะใช้ปากของมัน ดูดองค์ประกอบภายในเซลล์สาหร่ายออกมาจ๊วบๆ จนเมื่อคลอโรพลาสต์ตกถึงทางเดินอาหาร เซลล์เยื่อบุจะเขมือบคลอโรพลาสต์เข้าไปทันที

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:44:48

     
     

    ลักษณะการเจริญเติบโตของทากชาเขียว
    ความยาวค่อนข้างสั้นครับ ประมาณ 5-6 cm
    อายุเฉลี่ย 11 เดือนครับ
    วงจรชีวิตค่อนข้างสัมพันธ์กับกับสาหร่ายชนิดนี้ครับ
    คือถ้าตอนเด็กๆมันไม่มีคลอโรพลาสต์ในร่างกายแล้วเนี่ย
    มันไม่สามารถจะเมตามอโฟซิสเป็นตัวเต็มวัยได้ครับ
    แสดงว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองวิวัฒนาการมาด้วยกันในระดับนึงนะเนี่ย

    ตอนท้ายๆของชีวิต จะวางไข่ตอนปลายฤดูใบไม้ผลิ
    หลังจากนั้น จะตายเป็นเบือเลยครับ หมดฝูงเลย
    ไม่ใช่เพราะว่าคลอโรพลาสต์หมดอายุนะครับ
    แต่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง -*- โถพ่อคุณ
    ปรากฏการณ์นี้พบทั้งทากที่เลี้ยงไว้และในธรรมชาติครับ

    A = ระยะตัวอ่อน (lavae stage) B = ระยะทาก (slug stage) กำลังเคี้ยวสาหร่ายตุ้ยๆ
    C = ระยะโตเต็มวัยหลังกินสาหร่าย (young adult) D = ระยะโตเต็มวัยสุดๆ เขียวอี๋ไปเลยนะ (adult sea slug)

     
     

    เจ้าทากชาเขียวเนี่ย ปกติแล้วจะกินสาหร่ายเป็นอาหารไปตลอดชีวิต
    แต่ถ้าเกิดเราจับมันมาอดอาหาร เราพบว่า มันสามารถสังเคราะห์แสงได้เองครับ
    ผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงของมันจะได้เป็นสารประกอบคาร์บอนอินทรีย์
    ที่เอาไปสร้างได้ทั้งอาหาร โมเลกุลภูมิคุ้มกัน และเมือกข้นที่ห่อหุ้มมันไว้ครับ
    แม้ว่าคลอโรพลาสต์ที่ได้รับมาจะได้มาตั้งแต่สมัยเด็กๆก็ตาม

    นักวิทยาศาสตร์เลยสงสัยมากครับ
    เพราะว่าตามปกติแล้วเนี่ย การสังเคราะห์แสงจะต้องใช้โปรตีนที่ถูกถอดรหัสออกมาจาก DNA
    ทั้งจากนิวเคลียสของสาหร่าย 90% และจากคลอโรพลาสต์ของสาหร่าย 10% ครับ
    คุณสมบัติของคลอโรพลาสต์ที่พบในทากชาเขียว
    เค้าบอกว่าทั้งโครงสร้าง และการดูดกลืนแสง ใกล้เคียงกับของสาหร่ายมากครับ
    แต่ไอ้เจ้าทากตัวนี้ มันมีเฉพาะคลอโรพลาสต์นี่นา แล้วสังเคราะห์แสงเองได้เนี่ยนะ
    มันจะเป็นไปได้ยังไงกันหว่า?

    ส่องดูคลอโรพลาสต์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนครับ
    A B คือที่อยู่ในทาก ส่วน C D ในสาหร่ายครับ เหมือนกันเด๊ะ

     
     

    การศึกษาในช่วงแรกๆนักวิทยาศาสตร์พบว่า
    มีโปรตีนปริศนาถูกสร้างในไซโตพลาสซึมของเซลล์ทากชาเขียว
    แล้วอิมพอร์ทเข้าไปหาคลอโรพลาสต์ครับ

    เพื่อที่จะอธิบายว่า คลอโรพลาสต์ในทากชาเขียว
    ทำงานโดยปราศจากคำสั่งจากนิวเคลียสสาหร่ายได้อย่างไร
    และทำไมถึงมีอายุยืนนานเหลือเกิน
    เค้าเลยตั้งสมมติฐานขึ้นมา 5 ข้อครับ

    A คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายชนิดนี้เป็นซูเปอร์คลอโรพลาสต์ ทำงานได้เองเกือบ 100%
    B คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายชนิดนี้ และโปรตีนที่มันสร้างได้ มีความเสถียรมากและทนสุดๆ
    C คลอโรพลาสต์ชนิดนี้ ต้องการโปรตีนนิดเดียวก็ทำงานได้แล้ว ปริมาณ DNA มีน้อยก็ไม่เป็นไร
    D โปรตีนที่สังเคราะห์ได้จากเซลล์ทากเอง บางส่วนสามารถช่วยคลอโรพลาสต์ทำงานได้
    E สารพันธุกรรมบางส่วนของสาหร่าย ได้แทรกเข้าไปอยู่ในจีโนม (สารพันธุกรรมภายในเซลล์) ของทาก

     
     

    จากการทดลองอันยาวนานปรากฏว่า
    A - genetic autonomy of chloroplasts
    ข้อนี้ไม่จริงครับ เมื่อเค้าทดลอง sequence ลำดับ DNA ทั้งหมดในคลอโรพลาสต์ของทากตัวนี้
    พบว่าสังเคราะห์โปรตีนต่างๆที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงได้ก็จริง
    แต่ยังไม่มากพอที่จะสังเคราะห์ทั้งหมดได้อย่างฉายเดี่ยวครับ
    B - chloroplast & protein stability
    เขาพบว่าความเสถียรของคลอโรพลาสต์ ส่งผลต่อความง่ายในการเขมือบ
    คลอโรพลาสต์เข้าเซลล์ทากชาเขียวมากกว่าครับ ส่วนความเสถียรของโปรตีนเนี่ยก็มีบ้าง
    แต่ก็ยังไม่ใช่ปัจจัยหลักในการทำงานนะครับ
    C - low minimal protein requiremnet
    ข้อนี้ก็ผิดครับ เพราะกลไกการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายและทาก ก็เหมือนกับของชาวบ้านเขา
    นั่่นคือต้องการโปรตีนหลายร้อยชนิด ที่ถูกถอดรหัสและแปลรหัสจาก DNA จำนวนมหาศาลครับ
    D - animal nuclear-encoded protein redirect to chloroplast
    ข้อนี้ถูกแต่ไม่ใช่ทั้งหมดครับ เพราะนักวิทยาศาสตร์เค้าพบว่า นิวเคลียสของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเนี่ย
    ต้องสร้างโปรตีนมาใช้ในกระบวนการสันดาปอาหารได้
    ซึ่งกระบวนการนี้ มีความใกล้เคียงกับการสังเคราะห์แสงมากครับ
    ดังนั้นโปรตีนจากนิวเคลียสของทากชาเขียวที่เอาไว้ใช้สันดาปอาหาร
    จึงสามารถเข้าไปช่วยคลอโรพลาสต์สังเคราะห์แสงได้ครับ

    ปัญหาอยู่ที่ว่า การสังเคราะห์แสงนั้นใช้โปรตีนที่ต่างกับการสันดาปอาหาร 2 ชนิด
    คือรูบิสโก้ (rubisco) และ PRK (phosphoribulokinase) ครับ

     
     

    รูบิสโก้ เป็นโปรตีนที่มากที่สุดในโลกครับ สร้างเองได้จากคลอโรพลาสต์
    ตรงนี้ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเซลล์ทากก็มีคลอโรพลาสต์ที่ไปเอาของเค้ามา
    แต่ PRK เนี่ย เป็นโปรตีนที่ต้องสังเคราะห์จากนิวเคลียสของสาหร่ายเท่านั้นครับ
    แล้วเจ้าทากที่มีแค่นิวเคลียสของตัวเอง และคลอโรพลาสต์จากสาหร่าย
    จะมี PRK ได้ยังไงกันล่ะครับ?
    เราจึงต้องใช้สมมติฐานสุดท้ายมาช่วยอธิบาย

    E - hotizontal gene transfer
    คือการที่สารพันธุกรรมหนึ่งจากนิวเคลียสสาหร่าย เข้าไปแทรกอยู่ในนิวเคลียสทากครับ
    ทำให้ทากสามารถสร้างโปรตีนที่มีความสำคัญ แต่ไม่สามารถสร้างได้จากนิวเคลียสของมันหรือจากคลอโรพลาสต์ที่ได้รับมาได้
    เช่น PRK เมื่อกี้ หรือยีน 
    psbO ที่สร้างโปรตีน MSP ครับ

    สรุปก็คือว่าโปรตีนที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของเจ้าสัตว์ตัวนี้ มาจากสามแหล่งครับ
    1) นิวเคลียสของทาก สร้างโปรตีนสันดาปอาหารที่โครงสร้างคล้ายโปรตีนสังเคราะห์แสง
    2) คลอโรพลาสต์ ที่ขโมยมาจากสาหร่าย ช่วยสร้างโปรตีนสังเคราะห์แสงได้ระดับหนึ่ง
    3) นิวเคลียสของทาก ที่มีสารพันธุกรรมจากนิวเคลียสสาหร่ายมาสอดแทรก

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 14:18:35

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:51:27

     
     

    ดูเหมือนแค่นี้จะตอบได้ทุกคำถามใช่มั้ยครับ?
    เปล่าครับ เพราะคำว่า horizontal gene transfer หรือการส่งผ่านสารพันธุกรรม
    จากสาหร่ายให้ทากชาเขียวเนี่ย เป็นอะไรที่น่าสนใจมากกกกกกกกครับ

    เพราะปรากฏการณ์นี้ถ้าเกิดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ เราจะเรียกว่าพันธุวิศวกรรมครับ
    บังคับให้แบคทีเรียผลิตอินสุลินได้ หรือเมล็ดข้าวมีสีเหลืองเพราะสร้างแคโรทีนอยด์ได้
    ถ้าในธรรมชาติ ก็พบในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเช่นแบคทีเรียครับ
    สิ่งมีชีวิตชั้นสูง นานๆทีมักเกิดกับสัตว์หรือพืช ได้รับจีโนมมาจากจุลินทรีย์
    แต่การที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างสาหร่ายกับทากทะเลนี่ยิ่งใหญ่มากครับ
    ลองนึกดูดีๆนะครับว่า ทากตัวนี้ กิน สาหร่ายชนิดนี้ เลยสังเคราะห์แสงได้
    ถ้าเกิดกับมนุษย์ล่ะครับ?
    เมื่อคนเรากินนก เราจะบินข้ามทวีปโดยไม่ใช่เครื่องบินได้หรือเปล่า?
    หรือกินปลาไหลไฟฟ้า เราจะช๊อตเพื่อนๆที่เข้ามาตบหัวเราได้มั้ยครับ?
    แล้วถ้ากินปลาตีน สกังค์ กิ้งกาคาเมเลียน ทุเรียน หรือตัวเม่น จะเป็นยังไงนะ 
    ฟังดูเหมือน x-men เลยนะครับ:)

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:52:54

     
     

    เรื่องนี้ไม่ได้จะสั่นคลอนทฤษฎีวิวัฒนาการแต่อย่างใด กลับกัน กลายเป็นสนับสนุนทฤษฎีนี้ต่างหาก อย่างที่ จขกท กล่าวในเรื่อง horizontal gene transfer ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมจนกลายเป็นธนาคารพันธุกรรมให้สิ่งมีชีวิตในยุคแรกๆของโลก ยกตัวอย่างว่า สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่มีบรรพบุรุษต่างกันอาจมีรหัสพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันได้ เนื่องจากกระบวนการนี้ 

    จากคุณ : ชาลีฟ  

    ทากสกุลดังกล่าวบ้านเราก็มีครับ บนพื้นป่าชายเลน จะเห็นตัวเล็กสีเขียวเหมือนตะไคร่ เป็นแผ่นเล็กๆ มีการขยับเขยื้อนได้ อยู่ในแอ่งดินเลนพื้นป่านั่นแหละ แต่อาจจะไม่ได้มีในทุกแห่ง 

    ตัวอย่างเช่นในกระทู้นี้ จากป่าชายเลนม.อ.ปัตตานี
    http://siamensis.org/board/10833.html


    นอกจากนั้นยังมีสัตว์อื่นๆ ที่สามารถสังเคราะห์แสงได้โดยอาศํยสาหร่ายเซลล์เดียวช่วยเหลือแบบพึ่งพาอาศัยกันก็มีครับ ได้แก่พวกปะการัง แมงกะพรุน แล้วก็ฟองน้ำในบางชนิด แต่คลอโรพลาสต์จะยังอยู่ในสาหร่ายเซลล์เดียว ไม่ได้อยู่ในเซลล์สัตว์เจ้าบ้านโโยตรง 


    จากคุณ : นกกินเปี้ยว 

    ความมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในทากตัวนี้ก็คือ
    ภาวะ symbiosis ที่เกิดขึ้นกับมันครับ

    symbiosis เนี่ย คือการอาศัยอยู่ด้วยกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิดครับ
    บางทีก็เกิดขึ้นในระดับสิ่งมีชีวิต เช่น การที่ปลาเหาฉลามเกาะปลาฉลามไปไหนมาไหน
    การที่แบคทีเรีย 
    E. coli ในลำไส้เราช่วยสร้างวิตามิน
    หรือการที่โพรโทซัวในลำไส้ปลวกช่วยสร้างน้ำย่อยออกมาย่อยไม้ที่มันกินครับ
    ต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดวิวัฒนาการร่วม (coevolution) ต่อทั้งสัณฐานและสรีรวิทยาของคู่สิ่งมีชีวิตครับ

    สัตว์บางชนิดก็มีสาหร่ายมาอยู่ด้วยแบบ symbiosis นะครับ
    ทำให้เรามองเห็นสัตว์เหล่านั้นร่างกายมีสีสันต่างๆ
    และอาศัยออกซิเจนและอาหารที่สาหร่ายเหล่านั้นสร้างขึ้นมาประทังชีวิตครับ
    สัตว์ประเภทนั้นเช่น ฟองน้ำ ไฮดรา ปะการัง และดอกไม้ทะเลครับ 

    ไฮดรานะครับ

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:57:08

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:56:00

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:55:29

     
     

    ในบางครั้ง symbiosis อาจเกิดขึ้นในระดับภายในเซลล์ครับ
    เช่นวิวัฒนาการของสาหร่ายต่างๆในรูปข้างล่าง
    เค้าบอกว่า สาหร่ายแต่ละชนิดเกิดจากสาหร่ายชั้นต่ำชนิดอื่นๆ
    มาอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นครับ อยู่ไปนานๆเลยวิวัฒนาการกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขาไปซะงั้น

    แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับทากเนี่ย เป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลกครับ
    เพราะสิ่งที่เข้าไปอยู่ในภายเซลล์ทาก ไม่ใช่เซลล์อื่น แต่เป็น
    ส่วนของเซลล์อื่นครับ
    เข้าไปอยู่เปลือยๆซะยังงั้นเลย เป็นที่น่าสงสัยครับว่าทำไม ได้ไง เพราะอะไรกันนะ

    บางคนก็บอกว่า นี่เป็นการวิวัฒนาการของทากเพื่อเป็นสาหร่ายรึเปล่า?
    สาหร่ายจากทากเนี่ยนะ -*- อันนี้ไม่น่าใช่นะครับ
    เพราะว่าลูกทากที่เกิดมาเนี่ย ยังเป็นสัตว์อยู่เลยครับ ตัวยังไม่เขียว ไม่มีคลอโรพลาสต์

    ถึงตอนนี้นักวิทยาศาสตร์จะรู้คร่าวๆเกี่ยวกับไอ้ทากตัวนี้แล้ว
    แต่กลไกที่ซับซ้อนอื่นๆยังเป็นปริศนาอยู่เยอะครับ 
    ทั้งในระดับชีวเคมี ระดับพันธุศาสตร์ อณูพันธุศาสตร์ ฯลฯ ครับ
    อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าโลกของเรามีสิ่งมหัศจรรย์อยู่อีกเยอะ
    และความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอีกสิ่งที่ช่วยจรรโลงโลกและธรรมชาติของเราเอาไว้
    ยังไงๆก็รักโลกรักสัตว์กันนะคร้าบ ^^"

     
     

    จบแล้วครับ
    ขอบคุณที่ติดตามตั้งแต่ต้นจนจบนะครับ :)

    เอกสารอ้างอิง
    Solar-Powered Sea Slugs. Mollusc/Algal
    Chloroplast Symbiosis

    Mary E. Rumpho, Elizabeth J. Summer, and James R. Manhart
    Horizontal gene transfer of the algal nuclear gene
    psbO to the photosynthetic sea slug Elysia chlorotica

    Mary E. Rumphoa,1, Jared M. Worfula, Jungho Leeb, Krishna Kannana, Mary S. Tylerc, Debashish Bhattacharyad,
    Ahmed Moustafad, and James R. Manharte
    Chloroplast genes are expressed during intracellular symbiotic
    association of Vaucheria litorea plastids with the sea slug
    Elysia chlorotica

    CESAR V. MUJER,DAVID L. ANDREWS,JAMES R. MANHART,SIDNEY K.PIERCES,AND MARY E. RUMPHO
    http://www.newscientist.com/article/dn16124-solarpowered-sea-slug-harnesses-stolen-plant-genes-.html
    http://en.wikipedia.org/wiki/Photosynthesis



    leaf 


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว   - [ 17 มี.ค. 52 13:31:11 ]

    ทากเขียวในกระทู้นั้นเป็นสกุลเดียวกันกับตัวนี้นิครับ 
    เป็นญาติกันนิเอง
    จากที่ผมอ่านมาเนี่ยสกุล Aplysia นี่อยู่ใน order Ascoglossa ครับ
    ซึ่งทากในอันดับชั้นนี้ 82% มีสีเขียวครับ
    บางชนิดเขียวนาน คือคลอโรพลาสต์สังเคราะห์แสงได้
    บางชนิดเขียวแป๊บเดียว คือคลอโรพลาสต์ไม่ทำอะไร ต้องกินสาหร่ายใหม่ๆเพื่อยืดความเขียวออกไปครับ

    ปล.อาจจะผิดบ้างนะครับไม่ได้เรียนเรื่องนี้มา
    แต่ในบอร์ดนั้นมีดอกเตอร์ทากทะเลด้วยแฮะ สุดยอดเลยยย

    leaf 


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว   - [ 17 มี.ค. 52 13:40:39 ]

    ดีมากๆครับ เป็นนักสร้างสรรค์กระทู้หน้าใหม่

    ขอให้อยู่กับห้องหว้ากอนานๆนะ เห็น references แล้วขอชื่นชมในความตั้งใจในการเรียบเรียงความรู้ครับ 
    wink 


    จากคุณ : Cryptomnesia 

    ถ้าพัฒนาต่อยอดจนช่วยให้มนุษย์สังเคราะห์แสงได้

    คงลดสารพัดปัญหาลงเยอะเลย 
    happy

    ขอบคุณมากครับ 


    จากคุณ : 447    - [ 17 มี.ค. 52 13:29:02 ]

    ความคิดเห็นที่ 20

    ถ้าพัฒนาต่อยอดจนช่วยให้มนุษย์สังเคราะห์แสงได้
    คงลดสารพัดปัญหาลงเยอะเลย 
    ----------------------------------------------------------------
    ^
    อาจจะเคย ทำได้นะ...

    พระอินทร์... อิ่มทิพย์
    พระอินทร์....ตัวสีเขียว

    ฤๅ.. พระอินทร์จะสังเคราะห์แสงได้  หยอกเย้า 


    จากคุณ : ตัวกลมๆผมม้า  

    คห. 35 ใช่แล้วครับ
    แบคทีเรียบางชนิดรวมถึงสาหร่ายที่เป็นเพื่อนของมันอย่างสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงิน (cyanobacteria)
    สามารถสังเคราะห์แสงได้ครับ
    บางตัวได้แก๊สออกซิเจนออกมา แต่บางตัวได้กำมะถันนะครับ :)

    leaf 

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะครับ ได้ความรู้มากมายเลยครับ

    ผมขอถามนิดนึงครับว่า

    คำว่า สังเคราะห์แสงเองได้หรือไม่ได้ นิยามคืออะไร
    ตามความคิดของผม ผมคิดว่า 
    การสังเคราะห์แสงเองได้ 
    คือมีการถอดรหัสพันธุกรรม จาก ดีเอ็นเอเริ่มต้นเลยโดยอาศัยสารอาหารที่มีอยู่ เช่นในเมล็ด เป็นต้น  เพื่อสังเคราะห์แสงตั้งแต่เป็นตัวอ่อนหรือ ระยะแรกๆ เหมือนกับเมล็ดพืชแรกเริ่มก็มีดีเอ็นเอถอดรหัสออกมาสร้างโปรตีนทำให้มันสังเคราะห์แสงได้เอง

    สัตว์ชนิดนี้เริ่มต้นคงยังสังเคราะห์แสงเองไม่ได้ ต้องอาศัยกินสาหร่ายก่อน เพราะฉะนั้นผมว่าเจ้านี่ยังไม่ถือว่า สังเคราะห์แสงเองได้ตั้งแต่แรก 
    พูดง่ายๆ คือ ถ้าไอ้เจ้าทากตัวนี้ถ้าสังเคราะห์แสงเองได้ มันควรจะเป็นสีเขียวตั้งแต่เป็นตัวอ่อนตั้งแต่ต้น คือยังไม่กินสาหร่ายก็สังเคราะห์แสงได้แล้ว 

    ผมนิยามแบบนี้ ถูกหรือผิดครับ 


    จากคุณ : cheychai  

    คห. 43 ใช่แล้วครับ

    เอาความจริงเจ้าตัวนี้นี่ 
    ในจีโนมของมันไม่ได้ออกแบบมาโดยตรงเพื่อสังเคราะห์แสงเลยครับ
    เพราะมันเป็นสัตว์ ซึ่งโดยพื้นฐานทำอะไรแบบนี้ไม่ได้ครับ
    ในรูปคห.5A ตอนเด็กสุดเหมือนจะมีสีเขียวๆ
    แต่นั่นเป็นสีของแพลงก์ตอนที่มันกินเท่านั้นครับ
    แต่ถ้าเกิดมันไม่มีคลอโรพลาสต์ในร่างกาย มันก็ตายอยู่ดี หมุนวัฏจักรชีวิตไม่ได้
    คล้ายๆว่าเกิดมาเพื่อทำภารกิจนี้ให้สำเร็จมั้งครับ?

    คงคล้ายกับการที่คนเราเกิดมาเกิดมาตัวคนเดียว
    สารพันธุกรรมกำหนดให้เราอยู่คนเดียวบนโลกนี้ก็ได้
    แต่ภารกิจที่เราต้องทำคือหาใครซักคนมาเคียงข้างครับ
    ไม่งั้นวัฏจักรชีวิตก็หมุนไปอย่างไรความหมาย ~

    เอ๊ะ นอกเรื่อง -*-

    เรียกว่า สังเคราะห์แสง หรือสังเคราะห์ด้วยแสงอ่ะ เริ่มจะงงแล้ววว 

    จากคุณ : Ritali

    48 สังเคราะห์ด้วยแสงครับ ถ้าสังเคราะห์แสงนั่นมันหิ่งห้อยแล้ว 

    จากคุณ : silverspider   - [ 17 มี.ค. 52 22:33:15 ]

    สังเคราะห์ด้วยแสงคร้าบ
    เป็นศัพท์ราชบัณฑิตอะ
    พอดีเรียนมาตั้งแต่เด็กๆแล้วไม่ถนัดอะครับ -*-
    เหมือน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก วาฬ โลมา ดาวทะเล เงี้ย
    ไม่ชินเท่าไหร่อะ :) 


    จากคุณ : ตัวตุ่น

    หอยมือเสือและปะการังหลายชนิดก็สังเคราะห์แสงได้นะครับ 

    จากคุณ : echo "Platalay";  - [ 18 มี.ค. 52 02:16:17 ]

    เป็นเกร็ดความรู้ที่ดีครับ แต่ผมก็ขอดักคอพวกบ้าอาหารเสริมทั้งหลายไว้ก่อนว่า สิ่งนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่ามนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ แต่ไม่ได้ต้องการคลอโรฟิลด์เพื่อทำให้ตัวเองสังเคราะห์แสงได้เหมือนทากชนิดนี้ด้วย 

    จากคุณ : VeryBadman...Begins 

    หอยมือเสือกับปะการังเป็นสัตว์ที่มีสาหร่ายอยู่ข้างในเลยสังเคราะห์แสงได้คับ ^^"
    เหมือนกับไฮดราใน คห. 16
    สาหร่ายนี้ชื่อ 
    zooxanthellae มีประโยชน์มากกับสัตว์พวกฟองน้ำ ปะการัง หอย แมงกะพรุน 
    เพราะสร้างอาหารให้และมีส่วนช่วยสร้างหินปูนครับ

    การจะสังเคราะห์แสงได้หรือไม่ได้ ผมว่า (ด้วยความรู้งูๆปลาๆ)
    มันน่าจะ
    1) สังเคราะห์โปรตีนที่ใช้สังเคราะห์แสงได้เองนะครับ
    เพราะโปรตีนเนี่ย เป็นหน่วยทำงานของสารพันธุกรรม
    และสิ่งมีชีวิตไหนอยากได้โปรตีนมาทำงานอะไร ก็ต้องสร้างขึ้นมาเองครับ
    เหมือนทาก ไม่ได้เกิดมาพร้อมโดยสมบูรณ์ แต่ต่อมาก็สร้างโปรตีนมาใช้ในปฏิกิริยาเคมีที่ตัวเองต้องการได้
    2) มีอุปกรณ์สำคัญคือรงควัตถุสังเคราะห์แสงครับ
    รงควัตถุสังเคราะห์แสง (photosynthetic pigment) อย่างคลอโรฟิลล์เนี่ย
    สามารถดูดกลืนและเปลี่ยนแปลงแสงขาวสเปกตรัมจำเพาะที่ค่าหนึ่งๆ ให้กระตุ้นตัวมันเองได้ครับ
    ถ้าไม่มีอันนี้ก็จบ
    อย่างรงควัตถุของสัตว์ อย่างเช่น เมลานินเนี่ย
    แค่สะท้อนแสงออกมาเฉยๆครับ ทำประโยชน์ไม่ได้ :)

    ประมาณนี้มั้งครับ
    ปล.ตารางข้างล่างนี้จะเป็นจริงถ้าจัดให้พวก euglenoids เป็นสาหร่ายนะคร้าบ
    leaf

    แก้ไขเมื่อ 18 มี.ค. 52 09:18:30

     
     


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว   - [ 18 มี.ค. 52 09:17:30 ]

    แล้วถ้าตัวนี้มันกินสารที่เป็นรงควัตถุอื่นๆอะครับ เช่นแบบ carotenoid


    หรือ bacterio chlorophyll ความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเปลี่ยนไปตามรงควัตถุพวกนั้น
    รึเปล่าครับ ? (ที่แต่ละสารสี จะรับคลื่นแสงต่างความยาวคลื่นกัน) 

    จากคุณ : Dr-Zeratul 




    คห. 65
    ตามทฤษฎีแล้วน่าจะได้นะครับ
    แต่ในธรรมชาติจริงๆแล้วเนี่ย
    สารสีไม่ได้อยู่เดี่ยวๆครับ ในคลอโรพลาสต์ที่มันกินก็มีอยู่หลายชนิดช่วยกันทำงาน
    และอีกอย่างคือผมว่ามันน่าจะกินแต่สาหร่ายอารมณ์ประมาณนี้อะครับ
    เพราะเค้าบอกว่า สาหร่ายที่มันจะกินได้เนี่ยต้องมีคุณสมบัติว่ายังงู้นยังงี้นี่นั่นโน่น
    ถ้าอยากจะตอบคำถามข้อนี้ก็ต้องลองเอาคลอโรพลาสต์ของสาหร่ายอื่นๆ
    อย่างสาหร่ายสีแดง สีน้ำตาล ไรเงี้ย ฉีดเข้าเซลล์มันครับ :)

    leaf 


    แต่ว่าผมลองคุยๆ เพื่อนคนนึง (ที่เก่งกว่าผมมากมาย) แบบนี้ก็ไม่เรียกว่ามันสังเคราะห์ด้วยแสงด้วยตัวมันเองนี่ครับ
    เพราะไงมันก็กิน chloroplast เข้าไปเรื่อยๆ ให้มันเต็ม พท. ของทางเดินอาหารที่เจริญเรื่อยอะครับ 


    จากคุณ : Dr-Zeratul   - [ 19 มี.ค. 52 16:36:47 ]

    คห. 69 ใช่แล้วคับ
    ไอ้เจ้านี่ยังไงๆก็ต้องพึ่งพาสาหร่ายแน่นอนครับ
    แต่ถ้าเกิดเราให้มันอดข้าวเป็นเดือนๆมันก็สร้างอาหารได้เองครับ
    สัตว์สกุลอื่นทำไม่ได้แบบนี้นา ^^"

    คห. 70 ม้าน้ำตัวนี้สังเคราะห์แสงไม่ได้ค้าบ
    ที่เห็นเป็นครีบที่เอาไว้พรางตัวเฉยๆอะ (camouflage)
    คงคล้ายๆตัวข้างล่างที่ปลอมเป็นสาหร่ายมั้งครับ

     
     

    สุดยอดเลยค่ะ โหวตๆ ^^

    เรื่องน่าสนใจมากๆ ค่ะ ^^
    แล้วหายากมากนะคะคนที่เอาเรื่องยากๆ มาเขียนให้เข้าใจง่าย
    อ่านง่าย สำนวนน่ารักเป็นกันเองอย่างนี้ ติดใจมาตั้งแต่กระทู้ก่อน ^^


    จำชื่อล็อกอินไว้แล้ว จะติดตามผลงานทางกระทู้นะคะ :D 


    จากคุณ : โยษิตา    - [ 20 มี.ค. 52 16:12:54 ]

Neuroscience of LOVE : ผมจะรักคุณจากก้นบึ้งของสมอง

คัดลอกจากกระทู้ของคุณ ตัวตุ้ตตามัว

    สวัสดีครับ :)
    เป็นสมาชิกใหม่ครับ
    วันนี้ปิดเทอมแล้วเลยว่างๆเล่นเนทแล้วเขียนเรียบเรียงเรื่องนี้ขึ้นมาให้พี่ๆอ่านครับ
    เพราะในชีวิตจริงกำลังอินเลิฟอยู่เลย ~
    เอาล่ะตามผมมาเลยนะคร้าบบ

    leaf

    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว

    เป็นหรือเปล่าครับ? 
    เวลามีความรัก ทำไมต้องหน้าแดง หายใจแรง ตัวร้อนผ่าวๆแล้ววิ่งไปแอบอยู่มุมตึกทุกทีเลย 
    ประสบการณ์ตรงผมเองสมัยเด็กๆเองครับ ^^" 
    คนมากมายค้นหาคำตอบว่ารักคืออะไร 
    นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงช่วยหาคำตอบได้ว่า ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความรัก
    คือ ระบบประสาท และ สารเคมีในร่างกาย ครับ

     
     


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว   - [ 9 มี.ค. 52 01:26:06 ]

    พวกเขาแบ่งความรักง่ายๆออกเป็น 3 stages ซึ่งสัมพันธ์กับสารเคมีที่แตกต่างกันครับ
    1) lust - เมื่อผมหื่นกระหาย(?) : เทสโทสเตอโรน และอะดรีนาลีน
    2) attraction - เมื่อผมกระวนกระวาย คิดถึงเธอจะตาย : โดปามีน อะดรีนาลีน และฟีนีลเอธีลามีน (PEA)
    3) attachment - เมื่อผมจะรักคุณจนฟ้าดินสลาย : ออกซีโทซิน และวาโสเพรซซิน

    lust stage

    ขณะเราอินเลิฟช่วงแรกเป็นผลโดยตรงของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนครับ
    จากเดิมเธอเป็นเพียงใครก็ไม่รู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาทุกวัน เมื่อเราอินเลิฟความรู้สึกนั้นมันจะแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นครับ
    ชื่อว่าฮอร์โมนเพศชาย แต่ในผู้หญิงก็ผลิตได้เหมือนกันนะ
    คุณหมอบางท่านจึงเสริมยาที่คล้ายฮอร์โมนเพศชายให้กับคุณป้าหลังวัยหมดประจำเดือนเพื่อเพิ่มความรู้สึกทางเพศครับ

    นอกจากนี้ ในช่วงนี้อะดรีนาลีน ซึ่งเป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาท จะพาเหรดหลั่งออกมามากมาย
    เป็นผลให้เรารู้สึกดีกันเมื่ออยู่ใกล้กับคนที่เรารัก โดยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ หายใจแรงถี่ (+ฟืดฟาดๆ) 
    เสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนหื่นด้วยการทำให้เกิด ejaculation
    และเพิ่มความดันจนเหงื่อซึมออกมาเวลาได้จับมือกันครับ =]

    attraction stage

    ช่วงนี้เป็นช่วงมีอาการเหมือนติดยา (high)
    สารตัวแรกที่เกี่ยวข้องคือซีโรโทนินครับ
    ปกติสารตัวนี้เป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีหน้าที่หลายอย่าง โดยเฉพาะเป็นยานอนหลับ
    ขณะกำลังอินเลิฟพบว่าปริมาณของซีโรโทนิน และวงจรประสาทของมันทำงานลดลงด้วย
    เป็นผลคล้ายๆกับผู้ป่วยจิตเวชโรคย้ำคิดย้ำทำครับ (OCD)
    คนอินเลิฟเลยมักมีอาการหมกมุ่น คิดถึงแต่แฟนใช่มั้ยครับ?
    วันนี้จะกินอะไรกันดี ดูหนังเรื่องไหนดีล่ะ ฉีดน้ำหอมกลิ่นแบบนี้ได้มั้ยนะ
    หรือว่าผมเป็นคนเดียวเปล่าหว่า?
    มีบางรายงานพบว่า ผู้หญิงคนหนึ่งจะหย่ากับสามีอยู่จะรอมร่อ
    แล้วช่วงนั้นก็หยุดยาที่ตัวเองใช้รักษา OCD อยู่พอดี
    ผลปรากฏว่าความสัมพันธ์ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยครับ แฮปปี้เอนดิ้งเลย~

    PEA หรือ love molecule (งั้นผมเรียกว่าสารรักละกันนะครับ)

    เป็นสารที่คล้ายกับยาบ้า หรือแอมเฟตามีน
    จะถูกกระตุ้นได้เพียงแค่สบตากัน และจับมือกันเอาไว้ 
    ผลของสารรักตัวนี้คล้ายกับอะดรีนาลีนครับ
    และมีหน้าที่สำคัญในการเพิ่มความเร็วในการสื่อสารของเซลล์ประสาท
    แถมเค้ายังพบว่าเมื่อกินชอกโกแล็ต จะพบสารรักในกระแสเลือดมากขึ้นด้วยนะครับ
    (บางเปเป้อร์บอก กลิ่นกุหลาบก็มีด้วย..แต่มันไม่น่าจะดูดซึมนะ?)
    อาจจะเป็นเหตุผลนึงที่คนให้ชอกโกแล็ตวันวาเลนไทน์ก็ได้นะ
    ปีไหนผมได้ชอกโกแล๊ตน้อยนี่ต้องซื้อมาปลอบใจตัวเองทุกทีเลย แหะๆ
    นอกจากนี้สารรักยังสามารถกระตุ้นการหลั่งสารตัวถัดไป คือโดปามีนได้ด้วยครับ

    โดปามีน หรือ feel-good chemical,pleasure chemical : สารรู้สึกดีจัง

    นักวิทยาศาสตร์ลองเอาเด็กๆมหาลัยมาทำ functional MRI ขณะพวกเขาดูรูปแฟนครับ
    พบว่าสมองส่วนที่เรียกว่า ventral tegmental area (VTA) และ caudate nucleus มีการทำงานมากขึ้นครับ
    ตามปกติแล้วที่แรก จะส่งโดปามีนไปให้อีกที่นึง
    นั่นแปลว่าขณะเรารักใครซักคน สมองส่วน caudate จะอาบไปด้วยโดปามีนครับ
    เป็นอาการเดียวกันกับหลังได้รับยาเสพติดประเภท นิโคตีน หรือโคเคน
    เพราะสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับความอิ่มเอิบ (euphoria) ปรารถนา (craving) และการติด (addiction) ครับ 
    โดปามีนจะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในสมองและเปลี่ยนความหื่นจากขั้นแรก
    เป็นความสเน่หาที่ลึกซึ้งขึ้นนะครับ
    เมื่อโดปามีนทำงานควบคู่กับอะดรีนาลีนจะยิ่งอินเลิฟไปกันใหญ่เลยครับ
    จะทำให้เราร่าเริง เปี่ยมล้นด้วยพลังงาน นอนไม่หลับกระสับกระส่าย เบื่ออาหาร 
    ทำอะไรอย่างมีเป้าหมาย และไม่สนใจอะไร ใคร ใดๆ เลยครับ
    มีอาการน่ารักที่เรียกว่า pink lens effect คือโลกนี้สีชมพูมีแต่สองคนครับ
    เธอทำแบบนี้น่ารักดีออก คนอื่นมาว่าได้ไง
    คุณโดนที่ทำงานว่ามาหรอ แสดงว่าเจ้านายคุณนี่แย่ที่สุดเลยสินะ - -a
    เป็นอาการแบบว่า love is blind หรือ รักทำให้คนตาบอด นั่นแหละครับ

    ยาตัวหนึ่งครับชื่อ deprenyl เป็นยาเพิ่มระดับโดปามีนและ PEA ในร่างกาย
    ใช้รักษาโรคพากินสันครับ (ซึ่งเกิดจากระดับโดปามีนในสมองลดลง)
    คนบางคนกินแล้วบอกว่า "ผมรู้สึกอยากรักสาวๆทุกคนที่เดินผ่านผมจัง !!"
    หรือบางเว็บก็เขียนเอาไว้ว่า deprenyl for better sex ด้วยอะครับ อายจัง 55

    สุดท้ายโดปามีนยังช่วยกระตุ้นการหลั่งสารตัวท้ายสุด คือ ออกซิโทซิน ด้วยครับ

    attachment stage

    ออกซิโทซิน เป็นสารตัวสำคัญในการสร้างความผูกพันระยะยาวครับ
    จริงๆแล้วมันเป็นฮอร์โมนที่พบมากในผู้หญิง ช่วยคลอดลูก หลั่งน้ำนม 
    สร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูก สร้างพฤติกรรมความเป็นแม่ของมนุษย์ 
    โดยเค้าลองบล๊อกการหลั่งออกซิโทซินในสัตว์ครับ ปรากฏว่าคุณแม่ก็ไม่สนใจลูกเลย
    แล้วลองฉีดเข้าไปในสัตว์เพศเมียที่ยังโสดอยู่ ก็เอาลูกชาวบ้านเขามาเลี้ยงเลยอะ น่ารักดีครับ
    นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับพฤติกรรมฉันจะมีแต่เธอ (monogamy) ในมนุษย์ด้วย
    ด้วยเหตุว่าออกซิโทซินจะพบมากหลังจากถึงจุดสุดยอด และหลั่งแบบมีการเรียนรู้ได้
    แปลว่า ถ้าเกิดเรามีเซ็กส์กับคู่ของเราไปนานๆ ร่างกายจะตอบสนองต่อการหลั่งได้ดีขึ้นครับ
    แค่มองตากัน มันก็หลั่งแล้ว ถือว่าธรรมชาติช่วยตัดชอยส์อื่นๆสำหรับการมีเซ็กส์ออกไปในยามที่เรามีคู่ครับ เย้ ! 

    การทดลองนึงลองทำกับ prairie vole ครับ เป็นหนูชนิดหนึ่ง
    ฉีดออกซิโทซินให้พวกมันแล้วปรากฏว่าอยู่ด้วยกันทั้งปีทั้งชาติเลยครับ
    ดูแลกัน 24 ชั่วโมง แถมตัวผู้ยังมีการหึงหวงและแสดงอาการเกี้ยวกราดเวลาชาวบ้านมาระรานกับแฟนตัวเองด้วยนะครับ
    (jealous husband syndrome ครับ - ชื่อตลกอะ)
    การทดลองที่คล้ายๆกันทำกับหนูแพร โดยการฉีดออกซิโทซินให้หนูแพรตัวเมีย และวาโสเพรซซิน
    (เป็นฮอร์โมนคุณสมบัติคล้ายกัน หลั่งออกมาจากที่เดียวกัน) ให้หนูแพรตัวผู้
    โดยบังคับไม่ให้มันมีอะไรกันเลยย หึหึหึหึ 
    ผลปรากฎว่า ได้ผลเหมือนกันครับ
    แม้ไม่มีเซ็กส์แต่ก็ผูกพันกันไปจนตายเลยครับ 
    แต่น่าเสียดายที่เค้าบอกว่าระดับสารสองตัวนี้ในเลือดมนุษย์ไม่มีค่ามากพอที่จะแสดงพฤติกรรมฉันจะมีแต่เธอได้ครับ
    นั่นก็แปลว่า แสงเทียน อาหารหรู ดินเนอร์ และดอกไม้วาเลนไทน์
    ก็อาจช่วยไม่ได้ครับ สงสัยต้องฉีดวาโสเพรซซินให้แฟนซะแล้วครับ :)
    ปล. อย่าทำนะครับ อันตรายนะ

     
     

    love vs sex

    แล้วความรักกับเซ็กส์ล่ะ?
    อะไรมาก่อนกัน เป็นเรื่องแยกจากกันได้รึเปล่านะครับ? ผมไม่รู้ ยังไม่ถึง 20 ฮาๆๆ
    นักวิทยาศาสตร์กลุ่มเดิมทำการทดลองที่แอบทะลึ่ง โดยทำ functional MRI พร้อมทั้งให้นักศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นชาย
    ดูรูปโป๊ครับ ผลปรากฎว่า สมองที่เด่นขึ้นมาไม่ใช่สมองส่วนที่ใช้รัก แต่เป็นส่วนของ 
    hypothalamus และ amygdala ครับ
    สมองส่วนแรกเกี่ยวข้องกับการตอบสนองควบคุมลักษณะความต้องการในร่างกาย
    เช่น หิวข้าวจัง อยากกินน้ำจัง ง่วงจัง อากาศร้อนจัง มิยาบิจัง (อันหลังไม่เกี่ยวครับ -*-)
    ส่วนเอมี่ดารานั้นมีหน้าที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความจำ อารมณ์ สันชาตญาณ ฯลฯ
    แสดงว่ามันแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงรึเปล่า?
    เปล่าครับ เขาพบกว่าปริมาณโดปามีนที่บอกไปแล้ว เมื่อเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง
    สามารถเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนแห่งความหื่นได้ครับ
    แสดงว่าธรรมชาติออกแบบให้คนเรา รัก แล้วค่อย เซ็กซ์ นะผมว่า :)
    เห็นได้ว่า รัก + เซ็กส์ ในบทความเค้าแปลว่า romantic love ครับ
    ซึ่งไม่ใช่เรื่องของ emotion แต่เป็นความปรารถนาเช่นเดียวกันกับการที่ หิวข้าวจัง อยากกินน้ำจังครับ
    เลยเป็นที่มาของคำว่า crazy in love มั้งครับ 

    male vs female

    เค้าบอกว่า สมองของผู้ชายเนี่ยจะประติดประต่อความรักและเซ็กส์เข้ากับ visual stimuli ได้ดีกว่าครับ
    ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อุตสาหกรรมภาพยนต์ไม่ใส่เสื้อผ้าจะขายได้กับผู้ชายเป็นหลัก
    ตามวิวัฒนาการแล้วเพศผู้มีพันธกิจหลักคือแพร่พันธุ์ให้ได้มากที่สุดใช่มั้ยครับ
    สามารถผลิตอสุจิได้มากมายตลอดชีวิต
    การโยงเข้ากับประสาทสัมผัสทางตาเนี่ย เพื่อพิจารณาว่าเพศเมียที่เราเห็นเนี่ย 
    ลักษณะดีมากน้อยแค่ไหน และหมดวัยเจริญพันธุ์หรือยังครับ (เค้าว่างั้นนะ)
    สารเคมีต่างๆที่ว่ามาเนี่ย ในผู้ชายก็ผลิตได้มากกว่าผู้หญิงครับ
    เพราะได้รับการกระตุ้นจากประสาทสัมผัสทางตาได้โดยอ้อมนั่นเอง 

    แต่กับผู้หญิงเนี่ย ค่อนข้างซับซ้อนครับ เธอไม่มีส่วนประติดประต่อกับการมอง
    เธอเลยพัฒนาที่จะโยงเรื่องเหล่านั้นเข้ากับความจำครับ โอววววว 
    เพื่อที่จะใช้ประสบการณ์ในการคบหาดูใจ สอดส่องพฤติกรรมของผู้ชายว่า
    เหมาะจะเป็นพ่อของลูกชั้นมั้ย? คนอื่นชั้นจำได้ว่าเค้าไม่ทำแบบนี้กันนะ?
    (โดยคำถามทดสอบความจำประมาณว่า
    จำวันแรกที่เราเจอกันได้รึเปล่า? 
    ไอติมก้อนแรกที่กินด้วยกันเป็นรสอะไร? -*-)
    นอกจากนี้เขาพบว่าพฤติกรรมแบบ romantic love และ attachment นี้
    พบน้อยในสัตว์ชนิดอื่นๆครับ
    สันนิษฐานว่าวิวัฒนาการมาเพื่อการได้รับความดูแล ปกป้อง และคุ้มครอง
    ลิงชั้นต่ำๆตัวผู้กับตัวเมียขนาดเท่าๆกัน แต่เมื่อสูงขึ้นๆตัวผู้เริ่มตัวใหญ่กว่าครับ
    เพศเมียเลยบอบบาง น่าทะนุถนอม สมควรได้รับความรัก
    ไม่เหมือนแมงมุมแม่ม่ายดำอ่า แบบนั้นไม่เอานะ เสร็จปุ๊บตายปั๊บเลยย แง 

    ความจำสั้น แต่รักฉันยาว?

    สารอีกตัวหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่ามีส่วนเกี่ยวกับความรัก
    คือ NGF (nerve growth factor) ครับ
    เช่น BNDF, NF-3, NF-4
    ปกติแล้วไอ้ตัวนี้นี่จะหลั่งออกมาเพื่อหล่อเลี้ยงและคงสภาพเซลล์ประสาทของร่างกายเอาไว้
    ซึ่งสัมพันธ์กับที่พูดมาทั้งหมดใช่มั้ยครับว่าความรักส่วนหนึ่งก็มาจากสมองและสารเคมี
    ขณะรักกันช่วงปีแรกสารตัวนี้สูงปรี๊ดเลยครับ
    แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า มันแค่ช่วงปีแรกเท่านั้นอะครับ -*-
    คงใกล้เคียงกับคำว่า ถึงจุดอิ่มตัว หรือเปล่า
    ไม่ใช่ว่าไม่รัก แต่ก็ไม่ได้วาบหวานอิโรติกกุ๊กกิ๊กหื่นกระหายเหมือนสัปดาห์แรกที่คบกัน
    แถมเค้ายังทำเสกลบอกเรทติ้งของระดับ NGF ในเลือดไว้ด้วยนะครับ ไม่รู้จะเชื่อได้มั้ย

    NGF level - Love rating
    0-50 - and then they call it puppy love….
    51-100 - teenage crush
    101-150 - getting warm; could be serious
    151-200 - red hot passion. it’s the real thing!
    แปล : แค่เห็นหน้าก็เริ่มเพ้อ > ฉันเธอในวัยใส > อบอุ่นในหัวใจ > เร่าร้อนแบบนี้สิใช่ !! สุดยอด (?)

    จบแล้วครับ 
    ขอบคุณที่อ่านจนจบนะค้าบ :)

    การทดลองสุดท้ายไม่เกี่ยวกับความรักซักเท่าไหร่
    คุณป้านักวิทยาศาสตร์เจ้าเดิมให้นักศึกษาไปนอนเล่นในเครื่อง MRI
    พร้อมทั้งให้ดูรูปคนรักเก่าที่จากกันไปอย่างชอกช้ำ
    ผลปรากฎว่าสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นคือซีรีบรัมส่วน insular lobe ครับ
    ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่รับรู้และปรุงแต่งความเจ็บปวดทางกายอ่า
    แบบนี้เวลาร้องไห้และเจ็บปรี๊ดดดขึ้นมานี่ก็ของจริงสินะ -*- 555

    ถึงนางฟ้าที่ผมพร่ำเพ้อ
    .....ตั้งแต่ที่ผมได้พบคุณ รู้มั้ยครับ ว่าภายในตัวผม พุ่งพล่านไปด้วย เทสโทสเตอโรน และอะดรีนาลีน
    .....ใช่ครับ ผมกำลังอยู่ใน lust stage
    ......ยิ่งผมได้เจอคุณมากเท่าไร โดปามีน อะดรีนาลีน และฟีนีลเอธโนลามีน (PEA) ภายในตัวผมก็ยิ่งมากขึ้น
    .....จนผมมิอาจปิดกั้นให้ใจของผมกลายเป็น attraction ได้
    .....แต่อยู่ๆ คุณก็หายไป ผมหาคุณไม่พบอีกเลย ผมเฝ้าแต่รอคุณ
    .....แต่ยิ่งรอ ดูเหมือนว่า โดปามีน จะยิ่งมากขึ้น อะดรีนาลีน ก็ยิ่งมากขึ้น
    ....จนผมรอให้ ออกซีโทซิน และวาโสเพรซซินหลั่งออกมาไม่ไหวแล้ว
    .....หากคุณพอจะมี เทสโทสเตอโรน และอะดรีนาลีน อยู่บ้าง
    .....ก็ช่วยตอบจดหมายผมสักนิด อย่างน้อยก็พอให้โดปามีน อะดรีนาลีน และฟีนีลเอธโนลามีน ลดลงไปบ้าง
    จาก คนที่เริ่มมีออกซีโทซิน 

    ===========================================
    ถึง คนที่เริ่มมีออกซีโทซิน

    ........บ่นอะไรของเมิงฟะ 
    หยอกเย้า


    =========
    ฮ่าฮ่าฮ่า 


    จากคุณ : คิดสดๆ เลยนะนี่ (oppertunity)  - [ 9 มี.ค. 52 20:04:24 ]

    พอเอามาเรียบเรียงแบบนี้แล้ว อ่านสนุกดีนะคะ

    เป็นเรื่องเป็นราว แล้วแอบตอบตัวเองว่า  
    เออจริงด้วย

    "แปล : แค่เห็นหน้าก็เริ่มเพ้อ > ฉันเธอในวัยใส > อบอุ่นในหัวใจ > เร่าร้อนแบบนี้สิใช่ !! สุดยอด" เห็นทีต้องหาวิธีเพิ่ม NGF  ให้ตัวเองแล้วsmile 


    จากคุณ : rosella 

    มี Prolactin อีกตัวที่ทำให้เกิดความรักแบบ imprint

    ว่ากันตามทฤษฏี ผู้หญิงจะหลงรักอะไรก็ตามที่ดูดนมของเธอ -_-"

    แต่ความรักที่ว่าไม่ใช่ความกระหายหื่น เป็นความรักความผูกพันธ์แบบแม่กับลูกมากกว่า

    อีกทั้งมีหลักฐานว่า Prolactin มากๆสามารถทำให้เกิด Erectile Dysfunction ได้ด้วย ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมผู้หญิงจึงแยกความรักกับ sex ได้ดีกว่าผู้ชาย

    Love effect on an overall Health

    คุณหมอคนนี้ศึกษาเรื่องผลของความรักต่อสุขภาพกายครับ สนุกมากๆ
    โดยที่เค้าบอกว่า love is "heart Chakra" - จักระของหัวใจ(?) ยังกะนารุโตะอะ

    หลายคนอ่านๆมาแล้วก็พบว่า แล้วความรักเนี่ยไม่เกี่ยวกับหัวใจเลยหรอ
    พวกนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายไม่มีความรักในหัวใจกันเลยใช่มั้ย ฮือๆ
    เปล่าครับ เค้าพบว่า

    1) ที่หัวใจเนี่ย จะมีเซนเซอร์บางอย่างจับสารเคมีในเลือดเรา แล้วแปลเป็นกระแสประสาท
    ไปทำงาน co กับสมองส่วนสูงครับ เป็นกลไก inner synchronization ของร่างกาย
    คอย sync อวัยวะต่างๆให้สัมพันธ์กันยังไงยังงั้น ทำให้เราสุขภาพดี กระบวนความคิดดี สรีรวิทยาร่างกายดีครับ

    2) นอกจากติดต่อกับระบบประสาทแล้ว หัวใจยังเป็นอีกหน่วยฟังก์ชั่นหนึ่ง
    ของระบบประสาทอัติโนวัติด้วยครับ โดยปกติหัวใจจะถูกระบบประสาทย่อยสองระบบควบคุม
    คานอำนาจซึ่งกันและกันเอาไว้ เหมือนหยินหยาง หนึ่งเร็วและแรง อีกหนึ่งช้าและเบา
    เค้าพบว่าคนปกติเมื่อโกรธเนี่ย
    หัวใจเราเต้นอย่างบ้าคลั่งใช่มั้ยครับ เพราะเสียสมดุลของสองระบบนี้ครับ
    แต่ความรัก (อีกแล้ว) จะทำให้เมื่อเราโกรธระบบไม่เสียสมดุลมากนัก
    เพราะทุกอย่างมัน sync ถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการทั้งสองนี้ส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นเยอะเลยครับ

    แก้ไขเมื่อ 09 มี.ค. 52 22:08:01 

    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว

    และนี่คือผลการวิจัยที่คุณหมอคนนั้นได้ทำครับ

    1) คนที่ได้รับความรักอย่างต่อเนื่อง มีอัตราตีบตันของหลอดเลือดหัวใจต่ำกว่าอีกกลุ่มครับ
    2) คนแก่ที่ได้มอบความรักอย่างต่อเนื่อง มีผลที่ดีต่อกระบวนชราภาพ (aging process) ครับ
    3) อาสาสมัครที่อินเลิฟและอับเฉา ได้รับยาพ่นจมูกที่มี rhinovirus ผสมอยู่ 
    เป็นเชื้อหวัดธรรมดานะครับ และแน่นอนว่าคนที่อินเลิฟ มีอัตราติดหวัดต่ำกว่าอีกกลุ่มถึง 4 เท่าครับ
    4) ผู้ป่วยจิตเวชโรคซึมเศร้ากลุ่มหนึ่ง สามารถหายจากโรคได้ซักพักเมื่อมีรักครับ
    นั่นเป็นเพราะภาวะซึมเศร้าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณอะดรีนาลีนที่ลดลงในสมองครับ
    ความรักที่เกิดขึ้นจะเพิ่มปริมาณอะดรีนาลีนได้ส่วนหนึ่ง แล้วแต่คนครับว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน
    5) คนอกหักที่โกรธห้านาที จะเพิ่มปริมาณคอติซอล (ฮอร์โมนเครียด) ไปหกชั่วโมงครับ
    ฮอร์โมนตัวนี้สามารถไปลด sIgA ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันเราได้ ก็แย่เลยใช่มั้ยครับ
    แต่ความรักที่เกิดขึ้นแค่ห้านาทีเนี่ย สามารถเพิ่มปริมาณสารตัวนี้ได้นานหลายชั่วโมงเลยครับ
    6) เพราะความรักที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ จะไปลดปริมาณคอติซอลได้ 23% 
    แต่สามารถเพิ่มฮอร์โมน DHEA (ฮอร์โมนชะลอแก่) ได้ 100% เลยครับ วู้วววว
    7) เอนดอร์ฟิน (สารแห่งความสุข)ที่หลั่งออกมา จะช่วยย่อยอาหารและการขับถ่าย
    และสามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า natural killer cell ได้
    เซลล์ตัวนี้เป็นหนึ่งในทหารของร่างกาย ที่ช่วยต่อสู้และป้องกันโรคมะเร็งครับ :)

    leaf 


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว 

    แปะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ชอบบทความมมากครับ
    เคยได้ยินมาว่ามีโครงการจะฉีดสารพวกนี้ให้กับคู่สามีภรรยาที่เบื่อชีวิตคู่
    ให้กลับมารักไฟแรงเหมือนตอนจีบใหม่ๆ ในทางตรงกันข้ามมีการฉีดสารให้เกลียดขี้หน้ากันด้วยแบบว่าจะได้เลิกกันไปแบบไม่ต้องมานั่งเศร้าคิดถึงกันทีหลัง 


    จากคุณ : Desolation Angel 

    น้ำมันพรายนี้ เป็นสารสกัดเคมีที่เกี่ยวกับความรักหรือเปล่า
    >_< 


    จากคุณ : อยากมีรักด้วยคน (J-shock) 

    อายุไม่ถึง 20 ก็เก่งขนาดนี้แล้ว สุดยอดมากครับ อธิบายเรื่องที่น่าจะเข้าใจยาก

    ได้สนุกและน่าติดตามขนาดนี้ สนใจเป็นครูไหมครับ? ประเทศเราขาดครูเก่งๆอยู่นะครับ 


    จากคุณ : Generals 

    คห.86 เว่อไปแล้วครับ :)
    จริงๆผมก็อยากเป็นอาจารย์มหาลัยนะ กว่าจะจบอีกตั้งนานอะ

    คห.85 น่าสนจังเลยครับ
    เดี๋ยววันหลังผมค้นมาให้อ่านนะ
    เคยอ่านมาว่าคนเป็นเกย์จะตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชายได้
    เหมือนกับผู้หญิงครับ ทั้งๆที่ผู้ชายแท้ๆจะไม่รู้สึกอะไร
    แต่สารเคมีของความรักโดยภาพรวมน่าจะคล้ายๆกันรึเปล่า 
    เพราะ
    ความรักเป็นความรู้สึกที่เป็นสากลนะผมว่า ^^"

    ___________________________________________________________

    เมื่อเธอถูกดูดนม - when she was suckled

    หลังจากแตกประเด็นเรื่องนี้ไปสองกระทู้นะครับ เรามาดูดสารเคมีตัวนี้กัน
    โพรแลกติน ก็เป็นฮอร์โมนอีกตัวที่สำคัญของสตรีเพศครับ
    จะหลั่งออกมามากระยะหลังคลอดลูก และช่วยกดฮอร์โมนเพศหญิงในคุณแม่ให้นมลูกได้ประมาณ 6 เดือนครับ
    บางคนเลยบอกว่าการให้นมลูกเป็นการคุมกำเนิดอย่างนึงไงครับ (แต่ก็ไม่เสมอไปนะ)

    ฮอร์โมนตัวนี้ถูกกระตุ้นมากเมื่อลูกดูดนม เรียก suckling reflex ครับ
    (ไม่ใช่ sucking นะครับ ผมเคยเขียนในข้อสอบอะ 55 อายมาก)
    จะเสริมสร้างสายใยรักของแม่และลูก สร้างพฤติกรรมความเป็นแม่ และสร้างน้ำนมมากขึ้นอะ
    นอกจากนี้พฤติกรรมความเป็นแม่ยังกระตุ้นโดยการสัมผัสลูกผ่านประสาททั้งห้าด้วยครับ

    อย่างลูกแมวที่ดูดนมแม่หมา แม่หมาก็รักมันด้วยกลไกแบบนี้มั้งครับ ผมมั่วเอา ;P
    แต่ถ้าคุณพ่อดูดนมคุณแม่นี่ ><" ผมว่าฮอร์โมนตัวนี้ไม่หลั่งนา แล้วถ้าคุณแม่ดูดนมคุณพ่อบ้างล่ะ? (แล้วทำไมผู้ใหญ่ต้องทำอะไรแบบนี้กันด้วยครับ? 55) โพรแลกตินเป็นฮอร์โมนที่มีระดับต่ำในผู้ชายครับ จึงไม่น่าหลั่งสารตัวนี้มากระตุ้นความสัมพันธ์เท่าไหร่ นอกเรื่องนะครับ โพรแลกตินเนี่ย เป็นสารตัวนึงในน้ำตาที่หลั่งมาเวลาเศร้าครับ (น้ำตาอารมณ์ต่างๆองค์ประกอบทางเคมีก็ต่างกันด้วยครับ) ตอนเด็กๆ ดชกับดญ เนี่ย สารตัวนี้เท่าๆกันครับ เด็กผู้ชายเลยขี้แยพอๆกับเด็กผู้หญิง แต่พอเป็นวัยรุ่นสารตัวนี้มันลดลง เพศหญิงเลยเป็นเพศที่เจ้าน้ำตากว่าไงครับ :)
    leaf

     
     

    แล้วที่ผู้ชายส่วนใหญ่ รักง่ายหน่ายเร็วมากกว่าผู้หญิง เป็นเพราะ NGF level สลายไปเร็วกว่า หรือมีตัวยับยั้งมากว่ารึปล่าวครับ?? เลยต้องเริ่มกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างใหม่อยู่บ่อยๆ 55 

    จากคุณ : MESMERIC 

    อ่านแล้วซึ้งเลยครับผม   ความรักผ่านเคมี wink

     
     

    เรื่องเกี่ยวกับสมองกับพฤติกรรมมนุษย์เนี่ย ถ้าจะเรียนต้องเรียนคณะอะไรครับ มหาลัยไหนมีสอนบ้าง พอดีสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่ไม่รู้ว่ามันคือสาขาอะไรและคณะอะไร คุณจขกท.เรียนที่คณะอะไรครับ เรื่องแบบนี้น่าเรียนมากเลย แหะๆ

    ขอบคุณมากครับ ^^ 


    จากคุณ : BOM HUB   - [ 15 มี.ค. 52 13:08:35 ]

    คห. 106

    เอ..อันนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจนะครับ
    วิชาเกี่ยวกับ neuroscince หรือ behaviour science นี่
    หลักๆน่าจะเป็นคณะทางสาธารณสุขนะครับ
    แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช ไรเงี้ย
    คณะวิทยาศาสตร์ก็เห็นมีบ้างนิดๆเหมือนกัน
    ผมเองเรียนหมออยู่ครับ :)

    leaf 


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว