วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

[ANIMAL REVIEW] ใครว่าสัตว์สังเคราะห์แสงไม่ได้?

คัดลอกจากกระทู้ของคุณตัวตุ่นตามัว

    การสังเคราะห์แสง เป็นกระบวนการเดียวที่ระบบนิเวศ
    ดึงเอาพลังงานจากนอกโลกเข้ามาสู่ห่วงโซ่อาหารได้
    พืชใช้แสงสร้างแป้ง ถ่ายทอดไปให้สัตว์นับร้อยพัน
    ถ้าเกิดไม่มีแสง สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้อยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน

    เมื่อก่อนนี้กระบวนการสังเคราะห์แสงถูกจำกัดว่าพบแค่ใน
    พืช สาหร่าย แบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น
    แต่การศึกษา (ที่ไม่ค่อยใหม่) ของนักวิทยาศาสตร์
    ก็เผยให้เห็นว่า มีสัตว์มหัศจรรย์สกุลหนึ่งที่สร้างอาหารได้เช่นกัน

     
     


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว

    สัตว์ตัวนี้คือ Elysia chlorotica ครับ
    ด้วยรูปร่างที่เหมือนใบไม้ลอยอยู่ในทะเลแถบแคลิฟอร์เนีย
    ผมขอเรียกมันว่า ทากชาเขียวละกันนะครับ
    นักวิทยาศาสตร์เริ่มสนใจสัตว์นี้ตั้งแต่ปี 1876 และพร้อมการทดลองมากมาย
    เปเปอร์วิจัยเกี่ยวกับสัตว์ตัวนี้มีมากทีเดียวครับ

    เพื่อดูว่าทำไมมันถึงมีสีเขียว
    ทำไมมันถึงสังเคราะห์แสงได้
    แล้วมันเอาคลอโรพลาสต์ (โครงสร้างที่ใช้สังเคราะห์แสง) มาจากไหน
    กระบวนการนี้มีผลต่อการอยู่รอดของมันมากน้อยเพียงไร
    องค์ความรู้ที่ได้สามารถประยุกต์ในเชิงพันธุวิศวกรรมและสั่นคลอนทฤษฎีวิวัฒนาการหรือไม่
    น่าตื่นเต้นมั้ยละครับ :)

    A = ด้านบน B = ด้านล่าง C = กินอาหารง่ำๆ D = อยู่กับเพื่อนๆ

     
     

    ที่น่าแปลกใจที่สุดก็ว่า
    แหล่งของคลอโรพลาสต์ที่มันได้มาเนี่ย
    มาจากอาหารหลักของมันครับ เป็นสาหร่ายชื่อ 
    Vaucheria litorea
    ทากชาเขียวไม่ได้เกิดมาพร้อมกับมีร่างกายสีเขียว
    สาหร่ายที่มันกินเนี่ยจะแปะเอาคลอโรพลาสต์ไว้ในร่างกายของมันตามทางเดินอาหารของมันซึ่งมีลักษณะแตกแขนงครับ
    ยิ่งโตขึ้น ก็ยิ่งแตกแขนง สีเขียวก็ยิ่งแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย กลายเป็นเขียวอึ๋ยทั้งตัวเหมือนใบไม้เลยครับ><" ทากชาเขียวแต่ละสายพันธุ์จะมีโครงสร้างปากที่ต่างกัน สัมพันธ์กับสาหร่ายซึ่งเป็นอาหารของมันว่าเป็นชนิดไหน เพราะคุณทากเนี่ย จะใช้ปากของมัน ดูดองค์ประกอบภายในเซลล์สาหร่ายออกมาจ๊วบๆ จนเมื่อคลอโรพลาสต์ตกถึงทางเดินอาหาร เซลล์เยื่อบุจะเขมือบคลอโรพลาสต์เข้าไปทันที

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:44:48

     
     

    ลักษณะการเจริญเติบโตของทากชาเขียว
    ความยาวค่อนข้างสั้นครับ ประมาณ 5-6 cm
    อายุเฉลี่ย 11 เดือนครับ
    วงจรชีวิตค่อนข้างสัมพันธ์กับกับสาหร่ายชนิดนี้ครับ
    คือถ้าตอนเด็กๆมันไม่มีคลอโรพลาสต์ในร่างกายแล้วเนี่ย
    มันไม่สามารถจะเมตามอโฟซิสเป็นตัวเต็มวัยได้ครับ
    แสดงว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองวิวัฒนาการมาด้วยกันในระดับนึงนะเนี่ย

    ตอนท้ายๆของชีวิต จะวางไข่ตอนปลายฤดูใบไม้ผลิ
    หลังจากนั้น จะตายเป็นเบือเลยครับ หมดฝูงเลย
    ไม่ใช่เพราะว่าคลอโรพลาสต์หมดอายุนะครับ
    แต่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง -*- โถพ่อคุณ
    ปรากฏการณ์นี้พบทั้งทากที่เลี้ยงไว้และในธรรมชาติครับ

    A = ระยะตัวอ่อน (lavae stage) B = ระยะทาก (slug stage) กำลังเคี้ยวสาหร่ายตุ้ยๆ
    C = ระยะโตเต็มวัยหลังกินสาหร่าย (young adult) D = ระยะโตเต็มวัยสุดๆ เขียวอี๋ไปเลยนะ (adult sea slug)

     
     

    เจ้าทากชาเขียวเนี่ย ปกติแล้วจะกินสาหร่ายเป็นอาหารไปตลอดชีวิต
    แต่ถ้าเกิดเราจับมันมาอดอาหาร เราพบว่า มันสามารถสังเคราะห์แสงได้เองครับ
    ผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงของมันจะได้เป็นสารประกอบคาร์บอนอินทรีย์
    ที่เอาไปสร้างได้ทั้งอาหาร โมเลกุลภูมิคุ้มกัน และเมือกข้นที่ห่อหุ้มมันไว้ครับ
    แม้ว่าคลอโรพลาสต์ที่ได้รับมาจะได้มาตั้งแต่สมัยเด็กๆก็ตาม

    นักวิทยาศาสตร์เลยสงสัยมากครับ
    เพราะว่าตามปกติแล้วเนี่ย การสังเคราะห์แสงจะต้องใช้โปรตีนที่ถูกถอดรหัสออกมาจาก DNA
    ทั้งจากนิวเคลียสของสาหร่าย 90% และจากคลอโรพลาสต์ของสาหร่าย 10% ครับ
    คุณสมบัติของคลอโรพลาสต์ที่พบในทากชาเขียว
    เค้าบอกว่าทั้งโครงสร้าง และการดูดกลืนแสง ใกล้เคียงกับของสาหร่ายมากครับ
    แต่ไอ้เจ้าทากตัวนี้ มันมีเฉพาะคลอโรพลาสต์นี่นา แล้วสังเคราะห์แสงเองได้เนี่ยนะ
    มันจะเป็นไปได้ยังไงกันหว่า?

    ส่องดูคลอโรพลาสต์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนครับ
    A B คือที่อยู่ในทาก ส่วน C D ในสาหร่ายครับ เหมือนกันเด๊ะ

     
     

    การศึกษาในช่วงแรกๆนักวิทยาศาสตร์พบว่า
    มีโปรตีนปริศนาถูกสร้างในไซโตพลาสซึมของเซลล์ทากชาเขียว
    แล้วอิมพอร์ทเข้าไปหาคลอโรพลาสต์ครับ

    เพื่อที่จะอธิบายว่า คลอโรพลาสต์ในทากชาเขียว
    ทำงานโดยปราศจากคำสั่งจากนิวเคลียสสาหร่ายได้อย่างไร
    และทำไมถึงมีอายุยืนนานเหลือเกิน
    เค้าเลยตั้งสมมติฐานขึ้นมา 5 ข้อครับ

    A คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายชนิดนี้เป็นซูเปอร์คลอโรพลาสต์ ทำงานได้เองเกือบ 100%
    B คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายชนิดนี้ และโปรตีนที่มันสร้างได้ มีความเสถียรมากและทนสุดๆ
    C คลอโรพลาสต์ชนิดนี้ ต้องการโปรตีนนิดเดียวก็ทำงานได้แล้ว ปริมาณ DNA มีน้อยก็ไม่เป็นไร
    D โปรตีนที่สังเคราะห์ได้จากเซลล์ทากเอง บางส่วนสามารถช่วยคลอโรพลาสต์ทำงานได้
    E สารพันธุกรรมบางส่วนของสาหร่าย ได้แทรกเข้าไปอยู่ในจีโนม (สารพันธุกรรมภายในเซลล์) ของทาก

     
     

    จากการทดลองอันยาวนานปรากฏว่า
    A - genetic autonomy of chloroplasts
    ข้อนี้ไม่จริงครับ เมื่อเค้าทดลอง sequence ลำดับ DNA ทั้งหมดในคลอโรพลาสต์ของทากตัวนี้
    พบว่าสังเคราะห์โปรตีนต่างๆที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงได้ก็จริง
    แต่ยังไม่มากพอที่จะสังเคราะห์ทั้งหมดได้อย่างฉายเดี่ยวครับ
    B - chloroplast & protein stability
    เขาพบว่าความเสถียรของคลอโรพลาสต์ ส่งผลต่อความง่ายในการเขมือบ
    คลอโรพลาสต์เข้าเซลล์ทากชาเขียวมากกว่าครับ ส่วนความเสถียรของโปรตีนเนี่ยก็มีบ้าง
    แต่ก็ยังไม่ใช่ปัจจัยหลักในการทำงานนะครับ
    C - low minimal protein requiremnet
    ข้อนี้ก็ผิดครับ เพราะกลไกการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายและทาก ก็เหมือนกับของชาวบ้านเขา
    นั่่นคือต้องการโปรตีนหลายร้อยชนิด ที่ถูกถอดรหัสและแปลรหัสจาก DNA จำนวนมหาศาลครับ
    D - animal nuclear-encoded protein redirect to chloroplast
    ข้อนี้ถูกแต่ไม่ใช่ทั้งหมดครับ เพราะนักวิทยาศาสตร์เค้าพบว่า นิวเคลียสของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเนี่ย
    ต้องสร้างโปรตีนมาใช้ในกระบวนการสันดาปอาหารได้
    ซึ่งกระบวนการนี้ มีความใกล้เคียงกับการสังเคราะห์แสงมากครับ
    ดังนั้นโปรตีนจากนิวเคลียสของทากชาเขียวที่เอาไว้ใช้สันดาปอาหาร
    จึงสามารถเข้าไปช่วยคลอโรพลาสต์สังเคราะห์แสงได้ครับ

    ปัญหาอยู่ที่ว่า การสังเคราะห์แสงนั้นใช้โปรตีนที่ต่างกับการสันดาปอาหาร 2 ชนิด
    คือรูบิสโก้ (rubisco) และ PRK (phosphoribulokinase) ครับ

     
     

    รูบิสโก้ เป็นโปรตีนที่มากที่สุดในโลกครับ สร้างเองได้จากคลอโรพลาสต์
    ตรงนี้ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเซลล์ทากก็มีคลอโรพลาสต์ที่ไปเอาของเค้ามา
    แต่ PRK เนี่ย เป็นโปรตีนที่ต้องสังเคราะห์จากนิวเคลียสของสาหร่ายเท่านั้นครับ
    แล้วเจ้าทากที่มีแค่นิวเคลียสของตัวเอง และคลอโรพลาสต์จากสาหร่าย
    จะมี PRK ได้ยังไงกันล่ะครับ?
    เราจึงต้องใช้สมมติฐานสุดท้ายมาช่วยอธิบาย

    E - hotizontal gene transfer
    คือการที่สารพันธุกรรมหนึ่งจากนิวเคลียสสาหร่าย เข้าไปแทรกอยู่ในนิวเคลียสทากครับ
    ทำให้ทากสามารถสร้างโปรตีนที่มีความสำคัญ แต่ไม่สามารถสร้างได้จากนิวเคลียสของมันหรือจากคลอโรพลาสต์ที่ได้รับมาได้
    เช่น PRK เมื่อกี้ หรือยีน 
    psbO ที่สร้างโปรตีน MSP ครับ

    สรุปก็คือว่าโปรตีนที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของเจ้าสัตว์ตัวนี้ มาจากสามแหล่งครับ
    1) นิวเคลียสของทาก สร้างโปรตีนสันดาปอาหารที่โครงสร้างคล้ายโปรตีนสังเคราะห์แสง
    2) คลอโรพลาสต์ ที่ขโมยมาจากสาหร่าย ช่วยสร้างโปรตีนสังเคราะห์แสงได้ระดับหนึ่ง
    3) นิวเคลียสของทาก ที่มีสารพันธุกรรมจากนิวเคลียสสาหร่ายมาสอดแทรก

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 14:18:35

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:51:27

     
     

    ดูเหมือนแค่นี้จะตอบได้ทุกคำถามใช่มั้ยครับ?
    เปล่าครับ เพราะคำว่า horizontal gene transfer หรือการส่งผ่านสารพันธุกรรม
    จากสาหร่ายให้ทากชาเขียวเนี่ย เป็นอะไรที่น่าสนใจมากกกกกกกกครับ

    เพราะปรากฏการณ์นี้ถ้าเกิดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ เราจะเรียกว่าพันธุวิศวกรรมครับ
    บังคับให้แบคทีเรียผลิตอินสุลินได้ หรือเมล็ดข้าวมีสีเหลืองเพราะสร้างแคโรทีนอยด์ได้
    ถ้าในธรรมชาติ ก็พบในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเช่นแบคทีเรียครับ
    สิ่งมีชีวิตชั้นสูง นานๆทีมักเกิดกับสัตว์หรือพืช ได้รับจีโนมมาจากจุลินทรีย์
    แต่การที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างสาหร่ายกับทากทะเลนี่ยิ่งใหญ่มากครับ
    ลองนึกดูดีๆนะครับว่า ทากตัวนี้ กิน สาหร่ายชนิดนี้ เลยสังเคราะห์แสงได้
    ถ้าเกิดกับมนุษย์ล่ะครับ?
    เมื่อคนเรากินนก เราจะบินข้ามทวีปโดยไม่ใช่เครื่องบินได้หรือเปล่า?
    หรือกินปลาไหลไฟฟ้า เราจะช๊อตเพื่อนๆที่เข้ามาตบหัวเราได้มั้ยครับ?
    แล้วถ้ากินปลาตีน สกังค์ กิ้งกาคาเมเลียน ทุเรียน หรือตัวเม่น จะเป็นยังไงนะ 
    ฟังดูเหมือน x-men เลยนะครับ:)

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:52:54

     
     

    เรื่องนี้ไม่ได้จะสั่นคลอนทฤษฎีวิวัฒนาการแต่อย่างใด กลับกัน กลายเป็นสนับสนุนทฤษฎีนี้ต่างหาก อย่างที่ จขกท กล่าวในเรื่อง horizontal gene transfer ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมจนกลายเป็นธนาคารพันธุกรรมให้สิ่งมีชีวิตในยุคแรกๆของโลก ยกตัวอย่างว่า สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่มีบรรพบุรุษต่างกันอาจมีรหัสพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันได้ เนื่องจากกระบวนการนี้ 

    จากคุณ : ชาลีฟ  

    ทากสกุลดังกล่าวบ้านเราก็มีครับ บนพื้นป่าชายเลน จะเห็นตัวเล็กสีเขียวเหมือนตะไคร่ เป็นแผ่นเล็กๆ มีการขยับเขยื้อนได้ อยู่ในแอ่งดินเลนพื้นป่านั่นแหละ แต่อาจจะไม่ได้มีในทุกแห่ง 

    ตัวอย่างเช่นในกระทู้นี้ จากป่าชายเลนม.อ.ปัตตานี
    http://siamensis.org/board/10833.html


    นอกจากนั้นยังมีสัตว์อื่นๆ ที่สามารถสังเคราะห์แสงได้โดยอาศํยสาหร่ายเซลล์เดียวช่วยเหลือแบบพึ่งพาอาศัยกันก็มีครับ ได้แก่พวกปะการัง แมงกะพรุน แล้วก็ฟองน้ำในบางชนิด แต่คลอโรพลาสต์จะยังอยู่ในสาหร่ายเซลล์เดียว ไม่ได้อยู่ในเซลล์สัตว์เจ้าบ้านโโยตรง 


    จากคุณ : นกกินเปี้ยว 

    ความมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในทากตัวนี้ก็คือ
    ภาวะ symbiosis ที่เกิดขึ้นกับมันครับ

    symbiosis เนี่ย คือการอาศัยอยู่ด้วยกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิดครับ
    บางทีก็เกิดขึ้นในระดับสิ่งมีชีวิต เช่น การที่ปลาเหาฉลามเกาะปลาฉลามไปไหนมาไหน
    การที่แบคทีเรีย 
    E. coli ในลำไส้เราช่วยสร้างวิตามิน
    หรือการที่โพรโทซัวในลำไส้ปลวกช่วยสร้างน้ำย่อยออกมาย่อยไม้ที่มันกินครับ
    ต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดวิวัฒนาการร่วม (coevolution) ต่อทั้งสัณฐานและสรีรวิทยาของคู่สิ่งมีชีวิตครับ

    สัตว์บางชนิดก็มีสาหร่ายมาอยู่ด้วยแบบ symbiosis นะครับ
    ทำให้เรามองเห็นสัตว์เหล่านั้นร่างกายมีสีสันต่างๆ
    และอาศัยออกซิเจนและอาหารที่สาหร่ายเหล่านั้นสร้างขึ้นมาประทังชีวิตครับ
    สัตว์ประเภทนั้นเช่น ฟองน้ำ ไฮดรา ปะการัง และดอกไม้ทะเลครับ 

    ไฮดรานะครับ

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:57:08

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:56:00

    แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 52 13:55:29

     
     

    ในบางครั้ง symbiosis อาจเกิดขึ้นในระดับภายในเซลล์ครับ
    เช่นวิวัฒนาการของสาหร่ายต่างๆในรูปข้างล่าง
    เค้าบอกว่า สาหร่ายแต่ละชนิดเกิดจากสาหร่ายชั้นต่ำชนิดอื่นๆ
    มาอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นครับ อยู่ไปนานๆเลยวิวัฒนาการกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขาไปซะงั้น

    แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับทากเนี่ย เป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลกครับ
    เพราะสิ่งที่เข้าไปอยู่ในภายเซลล์ทาก ไม่ใช่เซลล์อื่น แต่เป็น
    ส่วนของเซลล์อื่นครับ
    เข้าไปอยู่เปลือยๆซะยังงั้นเลย เป็นที่น่าสงสัยครับว่าทำไม ได้ไง เพราะอะไรกันนะ

    บางคนก็บอกว่า นี่เป็นการวิวัฒนาการของทากเพื่อเป็นสาหร่ายรึเปล่า?
    สาหร่ายจากทากเนี่ยนะ -*- อันนี้ไม่น่าใช่นะครับ
    เพราะว่าลูกทากที่เกิดมาเนี่ย ยังเป็นสัตว์อยู่เลยครับ ตัวยังไม่เขียว ไม่มีคลอโรพลาสต์

    ถึงตอนนี้นักวิทยาศาสตร์จะรู้คร่าวๆเกี่ยวกับไอ้ทากตัวนี้แล้ว
    แต่กลไกที่ซับซ้อนอื่นๆยังเป็นปริศนาอยู่เยอะครับ 
    ทั้งในระดับชีวเคมี ระดับพันธุศาสตร์ อณูพันธุศาสตร์ ฯลฯ ครับ
    อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าโลกของเรามีสิ่งมหัศจรรย์อยู่อีกเยอะ
    และความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอีกสิ่งที่ช่วยจรรโลงโลกและธรรมชาติของเราเอาไว้
    ยังไงๆก็รักโลกรักสัตว์กันนะคร้าบ ^^"

     
     

    จบแล้วครับ
    ขอบคุณที่ติดตามตั้งแต่ต้นจนจบนะครับ :)

    เอกสารอ้างอิง
    Solar-Powered Sea Slugs. Mollusc/Algal
    Chloroplast Symbiosis

    Mary E. Rumpho, Elizabeth J. Summer, and James R. Manhart
    Horizontal gene transfer of the algal nuclear gene
    psbO to the photosynthetic sea slug Elysia chlorotica

    Mary E. Rumphoa,1, Jared M. Worfula, Jungho Leeb, Krishna Kannana, Mary S. Tylerc, Debashish Bhattacharyad,
    Ahmed Moustafad, and James R. Manharte
    Chloroplast genes are expressed during intracellular symbiotic
    association of Vaucheria litorea plastids with the sea slug
    Elysia chlorotica

    CESAR V. MUJER,DAVID L. ANDREWS,JAMES R. MANHART,SIDNEY K.PIERCES,AND MARY E. RUMPHO
    http://www.newscientist.com/article/dn16124-solarpowered-sea-slug-harnesses-stolen-plant-genes-.html
    http://en.wikipedia.org/wiki/Photosynthesis



    leaf 


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว   - [ 17 มี.ค. 52 13:31:11 ]

    ทากเขียวในกระทู้นั้นเป็นสกุลเดียวกันกับตัวนี้นิครับ 
    เป็นญาติกันนิเอง
    จากที่ผมอ่านมาเนี่ยสกุล Aplysia นี่อยู่ใน order Ascoglossa ครับ
    ซึ่งทากในอันดับชั้นนี้ 82% มีสีเขียวครับ
    บางชนิดเขียวนาน คือคลอโรพลาสต์สังเคราะห์แสงได้
    บางชนิดเขียวแป๊บเดียว คือคลอโรพลาสต์ไม่ทำอะไร ต้องกินสาหร่ายใหม่ๆเพื่อยืดความเขียวออกไปครับ

    ปล.อาจจะผิดบ้างนะครับไม่ได้เรียนเรื่องนี้มา
    แต่ในบอร์ดนั้นมีดอกเตอร์ทากทะเลด้วยแฮะ สุดยอดเลยยย

    leaf 


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว   - [ 17 มี.ค. 52 13:40:39 ]

    ดีมากๆครับ เป็นนักสร้างสรรค์กระทู้หน้าใหม่

    ขอให้อยู่กับห้องหว้ากอนานๆนะ เห็น references แล้วขอชื่นชมในความตั้งใจในการเรียบเรียงความรู้ครับ 
    wink 


    จากคุณ : Cryptomnesia 

    ถ้าพัฒนาต่อยอดจนช่วยให้มนุษย์สังเคราะห์แสงได้

    คงลดสารพัดปัญหาลงเยอะเลย 
    happy

    ขอบคุณมากครับ 


    จากคุณ : 447    - [ 17 มี.ค. 52 13:29:02 ]

    ความคิดเห็นที่ 20

    ถ้าพัฒนาต่อยอดจนช่วยให้มนุษย์สังเคราะห์แสงได้
    คงลดสารพัดปัญหาลงเยอะเลย 
    ----------------------------------------------------------------
    ^
    อาจจะเคย ทำได้นะ...

    พระอินทร์... อิ่มทิพย์
    พระอินทร์....ตัวสีเขียว

    ฤๅ.. พระอินทร์จะสังเคราะห์แสงได้  หยอกเย้า 


    จากคุณ : ตัวกลมๆผมม้า  

    คห. 35 ใช่แล้วครับ
    แบคทีเรียบางชนิดรวมถึงสาหร่ายที่เป็นเพื่อนของมันอย่างสาหร่ายสีเขียวแก้มน้ำเงิน (cyanobacteria)
    สามารถสังเคราะห์แสงได้ครับ
    บางตัวได้แก๊สออกซิเจนออกมา แต่บางตัวได้กำมะถันนะครับ :)

    leaf 

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะครับ ได้ความรู้มากมายเลยครับ

    ผมขอถามนิดนึงครับว่า

    คำว่า สังเคราะห์แสงเองได้หรือไม่ได้ นิยามคืออะไร
    ตามความคิดของผม ผมคิดว่า 
    การสังเคราะห์แสงเองได้ 
    คือมีการถอดรหัสพันธุกรรม จาก ดีเอ็นเอเริ่มต้นเลยโดยอาศัยสารอาหารที่มีอยู่ เช่นในเมล็ด เป็นต้น  เพื่อสังเคราะห์แสงตั้งแต่เป็นตัวอ่อนหรือ ระยะแรกๆ เหมือนกับเมล็ดพืชแรกเริ่มก็มีดีเอ็นเอถอดรหัสออกมาสร้างโปรตีนทำให้มันสังเคราะห์แสงได้เอง

    สัตว์ชนิดนี้เริ่มต้นคงยังสังเคราะห์แสงเองไม่ได้ ต้องอาศัยกินสาหร่ายก่อน เพราะฉะนั้นผมว่าเจ้านี่ยังไม่ถือว่า สังเคราะห์แสงเองได้ตั้งแต่แรก 
    พูดง่ายๆ คือ ถ้าไอ้เจ้าทากตัวนี้ถ้าสังเคราะห์แสงเองได้ มันควรจะเป็นสีเขียวตั้งแต่เป็นตัวอ่อนตั้งแต่ต้น คือยังไม่กินสาหร่ายก็สังเคราะห์แสงได้แล้ว 

    ผมนิยามแบบนี้ ถูกหรือผิดครับ 


    จากคุณ : cheychai  

    คห. 43 ใช่แล้วครับ

    เอาความจริงเจ้าตัวนี้นี่ 
    ในจีโนมของมันไม่ได้ออกแบบมาโดยตรงเพื่อสังเคราะห์แสงเลยครับ
    เพราะมันเป็นสัตว์ ซึ่งโดยพื้นฐานทำอะไรแบบนี้ไม่ได้ครับ
    ในรูปคห.5A ตอนเด็กสุดเหมือนจะมีสีเขียวๆ
    แต่นั่นเป็นสีของแพลงก์ตอนที่มันกินเท่านั้นครับ
    แต่ถ้าเกิดมันไม่มีคลอโรพลาสต์ในร่างกาย มันก็ตายอยู่ดี หมุนวัฏจักรชีวิตไม่ได้
    คล้ายๆว่าเกิดมาเพื่อทำภารกิจนี้ให้สำเร็จมั้งครับ?

    คงคล้ายกับการที่คนเราเกิดมาเกิดมาตัวคนเดียว
    สารพันธุกรรมกำหนดให้เราอยู่คนเดียวบนโลกนี้ก็ได้
    แต่ภารกิจที่เราต้องทำคือหาใครซักคนมาเคียงข้างครับ
    ไม่งั้นวัฏจักรชีวิตก็หมุนไปอย่างไรความหมาย ~

    เอ๊ะ นอกเรื่อง -*-

    เรียกว่า สังเคราะห์แสง หรือสังเคราะห์ด้วยแสงอ่ะ เริ่มจะงงแล้ววว 

    จากคุณ : Ritali

    48 สังเคราะห์ด้วยแสงครับ ถ้าสังเคราะห์แสงนั่นมันหิ่งห้อยแล้ว 

    จากคุณ : silverspider   - [ 17 มี.ค. 52 22:33:15 ]

    สังเคราะห์ด้วยแสงคร้าบ
    เป็นศัพท์ราชบัณฑิตอะ
    พอดีเรียนมาตั้งแต่เด็กๆแล้วไม่ถนัดอะครับ -*-
    เหมือน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก วาฬ โลมา ดาวทะเล เงี้ย
    ไม่ชินเท่าไหร่อะ :) 


    จากคุณ : ตัวตุ่น

    หอยมือเสือและปะการังหลายชนิดก็สังเคราะห์แสงได้นะครับ 

    จากคุณ : echo "Platalay";  - [ 18 มี.ค. 52 02:16:17 ]

    เป็นเกร็ดความรู้ที่ดีครับ แต่ผมก็ขอดักคอพวกบ้าอาหารเสริมทั้งหลายไว้ก่อนว่า สิ่งนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่ามนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ แต่ไม่ได้ต้องการคลอโรฟิลด์เพื่อทำให้ตัวเองสังเคราะห์แสงได้เหมือนทากชนิดนี้ด้วย 

    จากคุณ : VeryBadman...Begins 

    หอยมือเสือกับปะการังเป็นสัตว์ที่มีสาหร่ายอยู่ข้างในเลยสังเคราะห์แสงได้คับ ^^"
    เหมือนกับไฮดราใน คห. 16
    สาหร่ายนี้ชื่อ 
    zooxanthellae มีประโยชน์มากกับสัตว์พวกฟองน้ำ ปะการัง หอย แมงกะพรุน 
    เพราะสร้างอาหารให้และมีส่วนช่วยสร้างหินปูนครับ

    การจะสังเคราะห์แสงได้หรือไม่ได้ ผมว่า (ด้วยความรู้งูๆปลาๆ)
    มันน่าจะ
    1) สังเคราะห์โปรตีนที่ใช้สังเคราะห์แสงได้เองนะครับ
    เพราะโปรตีนเนี่ย เป็นหน่วยทำงานของสารพันธุกรรม
    และสิ่งมีชีวิตไหนอยากได้โปรตีนมาทำงานอะไร ก็ต้องสร้างขึ้นมาเองครับ
    เหมือนทาก ไม่ได้เกิดมาพร้อมโดยสมบูรณ์ แต่ต่อมาก็สร้างโปรตีนมาใช้ในปฏิกิริยาเคมีที่ตัวเองต้องการได้
    2) มีอุปกรณ์สำคัญคือรงควัตถุสังเคราะห์แสงครับ
    รงควัตถุสังเคราะห์แสง (photosynthetic pigment) อย่างคลอโรฟิลล์เนี่ย
    สามารถดูดกลืนและเปลี่ยนแปลงแสงขาวสเปกตรัมจำเพาะที่ค่าหนึ่งๆ ให้กระตุ้นตัวมันเองได้ครับ
    ถ้าไม่มีอันนี้ก็จบ
    อย่างรงควัตถุของสัตว์ อย่างเช่น เมลานินเนี่ย
    แค่สะท้อนแสงออกมาเฉยๆครับ ทำประโยชน์ไม่ได้ :)

    ประมาณนี้มั้งครับ
    ปล.ตารางข้างล่างนี้จะเป็นจริงถ้าจัดให้พวก euglenoids เป็นสาหร่ายนะคร้าบ
    leaf

    แก้ไขเมื่อ 18 มี.ค. 52 09:18:30

     
     


    จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว   - [ 18 มี.ค. 52 09:17:30 ]

    แล้วถ้าตัวนี้มันกินสารที่เป็นรงควัตถุอื่นๆอะครับ เช่นแบบ carotenoid


    หรือ bacterio chlorophyll ความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเปลี่ยนไปตามรงควัตถุพวกนั้น
    รึเปล่าครับ ? (ที่แต่ละสารสี จะรับคลื่นแสงต่างความยาวคลื่นกัน) 

    จากคุณ : Dr-Zeratul 




    คห. 65
    ตามทฤษฎีแล้วน่าจะได้นะครับ
    แต่ในธรรมชาติจริงๆแล้วเนี่ย
    สารสีไม่ได้อยู่เดี่ยวๆครับ ในคลอโรพลาสต์ที่มันกินก็มีอยู่หลายชนิดช่วยกันทำงาน
    และอีกอย่างคือผมว่ามันน่าจะกินแต่สาหร่ายอารมณ์ประมาณนี้อะครับ
    เพราะเค้าบอกว่า สาหร่ายที่มันจะกินได้เนี่ยต้องมีคุณสมบัติว่ายังงู้นยังงี้นี่นั่นโน่น
    ถ้าอยากจะตอบคำถามข้อนี้ก็ต้องลองเอาคลอโรพลาสต์ของสาหร่ายอื่นๆ
    อย่างสาหร่ายสีแดง สีน้ำตาล ไรเงี้ย ฉีดเข้าเซลล์มันครับ :)

    leaf 


    แต่ว่าผมลองคุยๆ เพื่อนคนนึง (ที่เก่งกว่าผมมากมาย) แบบนี้ก็ไม่เรียกว่ามันสังเคราะห์ด้วยแสงด้วยตัวมันเองนี่ครับ
    เพราะไงมันก็กิน chloroplast เข้าไปเรื่อยๆ ให้มันเต็ม พท. ของทางเดินอาหารที่เจริญเรื่อยอะครับ 


    จากคุณ : Dr-Zeratul   - [ 19 มี.ค. 52 16:36:47 ]

    คห. 69 ใช่แล้วคับ
    ไอ้เจ้านี่ยังไงๆก็ต้องพึ่งพาสาหร่ายแน่นอนครับ
    แต่ถ้าเกิดเราให้มันอดข้าวเป็นเดือนๆมันก็สร้างอาหารได้เองครับ
    สัตว์สกุลอื่นทำไม่ได้แบบนี้นา ^^"

    คห. 70 ม้าน้ำตัวนี้สังเคราะห์แสงไม่ได้ค้าบ
    ที่เห็นเป็นครีบที่เอาไว้พรางตัวเฉยๆอะ (camouflage)
    คงคล้ายๆตัวข้างล่างที่ปลอมเป็นสาหร่ายมั้งครับ

     
     

    สุดยอดเลยค่ะ โหวตๆ ^^

    เรื่องน่าสนใจมากๆ ค่ะ ^^
    แล้วหายากมากนะคะคนที่เอาเรื่องยากๆ มาเขียนให้เข้าใจง่าย
    อ่านง่าย สำนวนน่ารักเป็นกันเองอย่างนี้ ติดใจมาตั้งแต่กระทู้ก่อน ^^


    จำชื่อล็อกอินไว้แล้ว จะติดตามผลงานทางกระทู้นะคะ :D 


    จากคุณ : โยษิตา    - [ 20 มี.ค. 52 16:12:54 ]

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

นึกว่าใบไม้ซะอีก รูปจากกล้องจุลทรรศน์ สวยๆหลายรูปเลย