วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

ขบวนการผลิตแพทย์ ออกมารับใช้สังคมนั้น

บางช่วงบางตอนคำให้สัมภาษณ์ น.พ.นิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกูล ผอ.โรงพยาบาล ประทาย โคราช

เมื่อก่อนผมคิดเพียงว่า จะต้องเป็นหมอที่ดี และเป็นหมอที่เก่ง
ตอนนั้นคิดอยู่แค่สองคำนี้ สุดท้ายจึงค้นพบอีกคำหนึ่งว่า
ต้องเป็นหมอที่มีความสุขด้วย จึงจะเกิดพลังในการทำงาน

หมอนิวัฒน์ชัยเกริ่นให้ฟังว่า 50% ของผู้ป่วยที่เดินทางมาพบแพทย์
สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า เป็นผู้เจ็บป่วยทั้งกายและใจ
โดยบางรายเกิดจากอาการเครียด จึงส่งผลกระทบไปถึงไปถึงระบบทางกาย
ฉะนั้นการรักษาด้วยเวชภัณฑ์เพียงอย่างเดียวจึงไม่พอ
ต้องใช้การบำบัดเยียวยาทางใจควบคู่ด้วย
การรักษาทางใจในความหมายของหมอนิวัฒน์ชัย
คือการเข้าถึงความรู้สึกผู้ป่วยด้วยความเห็นอกเห็นใจ
มองเห็นทุกข์ของผู้อื่นในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
โดยคนเป็นหมอต้องลดอัตตา และมีสำนึกในการเป็นผู้ให้ ไม่ใช่ผู่มีบุญคุณ

"ถ้าหมอลดตัวลงได้ ก็จะรับรู้ในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือการได้ยินเสียง
ที่ไม่ได้ยินจากคนไข้ (The Silence Sound)
ไม่ว่าจะเป็นเสียงแห่งความทุกข์ สีหน้า แววตา
คนเป็นหมอจึงต้องเรียนรู้ที่จะฟังให้ลึก ฟังโดยไม่ตัดสิน
ซึ่งเป็นศิลปชั้นสูงในการรักษา"

"บางทีการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ก็ทำให้หลงตัวเอง
คิดว่าเป็นเทวดา เพราะสั่งคนไข้ได้ สั่งญาติได้ สั่งได้หมด
ทุกคนอยู่ใต้อาณัติของแพทย์
ฉะนั้นการเรียนการสอนจึงทำให้เรากลายเป็นคนไม่ติดดิน
โดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง"

หมอนิวัฒน์ชัยเห็นว่า ขบวนการผลิตแพทย์ ออกมารับใช้สังคมนั้น
จำเป็นต้องทบทวนใหม่ ตั้งแต่ระบบคัดกรองคน ปรับปรุงหลักสูตร
ปลูกฝังศิลธรรมประจำใจ หาไม่แล้ววิชาชีพแพทย์จะตกต่ำ
จนไม่สามารถกู้วิกฤตศัทธาคืนมาได้

"ธรรมชาติของคนเรียนแพทย์ คือคนที่มีไอคิวสูง
อ่านหนังสืออย่างบ้าเลือด เพราะถูกหล่อหลอมให้แพ้ไม่เป็น
จึงหลงอยู่ในอำนาจ ซึ่งเป็นระบบที่ผิดพลาดมาจนทุกวันนี้"


จากโพสทูเดย์

ไม่มีความคิดเห็น: