คัดลอกมาจากกระทู้ของ ตัวตุ่นตามัว
สวัสดีครับ :)
วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องชีวิตคุณลุงคนหนึ่งให้พี่ๆฟัง
ถึงแม้เค้าจะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดัง
แต่ก็เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากในวิชาประสาทศาสตร์ปัจจุบันนะครับ
เอาเป็นว่าเป็นบุคคลโลกจารึกละกัน ^^
ชื่อของเค้าคือ Henry Gustav Molaison
แต่เพื่อความเป็นส่วนตัว (?) ทุกคนจึงเรียกติดปากมาเสมอว่า Mr. H.M. ครับ

จากคุณ : ตัวตุ่นตามัว
- [ 10 เม.ย. 52 17:45:55 ]
คุณ H.M. เกิดที่ Hartford, Connecticut ในปี 1926 เค้าเกิดมาเป็นเด็กชายธรรมดาเหมือนคนทั่วๆไป แต่จุดที่พลิกผันเค้าไปทั้งชีวิต เกิดเมื่อเขาอายุ 9 ขวบ เมื่อเขาเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานล้มลง ทำให้สมองกระทบกระเทือน นับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็มีความผิดปกติของสมองที่เรียกว่าลมชักครับ
อาการลมชักนี้เอาง่ายๆว่าคือ circuit ไฟฟ้าในสมองมันเจ๊งครับ คุณ H.M. เลยมีอาการชักอย่างอ่อนๆนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนช่วงหลังๆอายุเป็นวัยรุ่น อาการแย่มาก ชักนอนสต๊อปหยุดไม่ได้ยาเอาไม่อยู่ (หึหึ) เมื่ออายุ 27 คุณแม่เลยพาไปหาหมอ Scoville ที่เป็น psychosurgeon เพื่อรับการผ่าตัดครับ
นี่เป็นรูปเดียวของคุณ H.M. ที่ค้นได้จากกูเกิ้ลนะครับ |
|
คุณ H.M. เกิดที่ Hartford, Connecticut ในปี 1926 เค้าเกิดมาเป็นเด็กชายธรรมดาเหมือนคนทั่วๆไป แต่จุดที่พลิกผันเค้าไปทั้งชีวิต เกิดเมื่อเขาอายุ 9 ขวบ เมื่อเขาเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานล้มลง ทำให้สมองกระทบกระเทือน นับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็มีความผิดปกติของสมองที่เรียกว่าลมชักครับ
อาการลมชักนี้เอาง่ายๆว่าคือ circuit ไฟฟ้าในสมองมันเจ๊งครับ คุณ H.M. เลยมีอาการชักอย่างอ่านๆนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนช่วงหลังๆอายุเป็นวัยรุ่น อาการแย่มาก ชักนอนสต๊อปหยุดไม่ได้ยาเอาไม่อยู่ (หึหึ..) เมื่ออายุ 27 คุณแม่เลยพาไปหาหมอ Scoville ที่เป็น psychosurgeon เพื่อรับการผ่าตัดครับ
สมัยก่อนไม่มี MRI ใช้นะครับ ลำบากนิดนึง |
|
ฟังดูเผินๆเรื่องก็น่าจะจบลงด้วยดีใช่มั้ยครับ แต่จริงๆแล้วเนี่ย สาขาการแพทย์ psychosurgery ในปัจจุบันนี่ไม่มีแล้วนะครับ เพราะมันคือการรักษาผู้ป่วยจิตเวชด้วยการเฉือนสมองทิ้งครับ -*- อ้ากก เมื่อก่อนเค้าทำกันยังงี้จริงๆนะครับ ถ้าเป็นโรคซึมเศร้า (depression) นี่ก็ผ่าสมอง อัตราการตาย 6% ครับ ผลข้างเคียงคือเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพและการเข้าสังคมอย่างถาวร (แล้วจะผ่าไปทำไมฟะ)
เมื่อคุณหมอระบุว่าอาการลมชักของคุณ H.M. นั้นมีตำแหน่งอยู่ ณ จุดจุดนึง เรียกว่า medial temporal lobe (ด้านในของซีรีบรัมกลีบข้างขมับ?) คุณหมอเลยจัดการใช้ที่แซะน้ำแข็ง (ice picking) มาแงะสมองส่วนนั้นออกครับ เนื้อสมองส่วนนั้นเลยหายไปประมาณ 8 cm หลังจากนั้นคุณ H.M. ก็ไม่ต้องประสบปัญหาลมชักอีกเลย เย้! คุณหมอเก่งจริงๆเลยครับ
การผ่าตัดสมัยก่อนที่เรียกว่า psychosurgery นะครับ น่ากัวโคด |
|
บั้นปลายชีวิตของคุณ H.M. อยู่ที่ nursing home แห่งหนึ่ง โดยมีนักวิทยาศาสตร์และคุณหมอเข้ามาเชคสุขภาพและตรวจนู่นนี่นั่นเป็นระยะๆ เขาป่วยเป็นกระดูกพรุนเพราะผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาลมชัก นอกนั้นคุณปู่ H.M. ก็แข็งแรงเป็นปกติ และเพราะเขาจำ skill ได้บ้าง เขาจึงช่วยงาน nursing home ได้นิดๆหน่อยๆ ถึงแม้ว่าจะจำไม่ได้ว่าทำอะไรลงไป งานที่ทำมีลักษณะยังไงก็เถอะ !
คุณหมอประจำตัวเขา Dr.Chokin เขียนไว้ในหนังสือเกี่ยวกับคุณ H.M. เรื่อง "a lifetime without memory" กล่าวว่า He was like a family member, You’d think it would be impossible to have a relationship with someone who didn’t recognize you, but I did.” ท้ายที่สุดแล้วสมองของคุณ H.M. หลังเสียชีวิตได้ถูกเก็บไว้และศึกษา เช่นเดียวกับสมองของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆเช่นไอน์สไตน์
คุณ H.M. เสียเมื่อปลายปี 2008 ไม่มีลูกซักคน แต่สิ่งที่เขาทิ้งไว้คือรากฐานสำคัญของวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งครับ :)
______________________THE END________________________
ปล. ขี่จักรยานระวังอย่าให้ล้มแล้วกระแทกสมองนะครับ แฮปปี้สงกรานต์คร้าบ ~
แปลและเรียบเรียงจาก http://www.neurosciencenews.com/hm-dies-amnesia.htm http://neurophilosophy.wordpress.com/2007/05/25/remembering-henry-m/ อนันต์ ศรีเกียรติขจร, ศักนัน พงศ์พันธุ์ผู้ภักดี : neuroscience for medical students
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น