วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

ความคิดเห็นจากกระทู้..ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

มีความคิดเห็นที่น่าสนใจในกระทู้ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X7747929/X7747929.html
 จึงนำมารวบรวมไว้ในบล็อกนี้

    ผมก็จบฟิสิกส์ ป ตรี ที่สถาบันแห่งหนึ่ง ไม่ใช่ที่จุฬา

    ปัญหาของคนที่จบฟิสิกส์ คือไม่ค่อยมีหัวในการประยุกต์ ทั้ง ๆ ที่เข้าใจปรากฎการณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวได้ดี

    ส่วนคำว่า "วิชาฟิสิกส์ กำลังจะเป็นวิชาที่ตายแล้ว" เราสามารถทำให้มันมีชีวิต เจริญเติบโตได้ ถ้าเข้าใจมันได้อย่าลึกซึ้ง รวมทั้งหาวิธีนำมาประยุกต์ใช้งาน ให้ได้อย่างกว้างขวางด้วย 
    smile 


    จากคุณ : อีคิวศูนย์ 

    ขอแสดงความคิดเห็นนิดนึง
    เราว่าฟิสิกส์นั้นสำคัญก็จริงแต่ผมก็ไม่ค่อยเชื้อถือเท่าไร
    เพราะคณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์ นี่เองที่มุนษย์เป็นคนกำหนดขึ้นมาเอง
    ด้วยกายที่ยาบและบอกว่านี่และคือความจริงที่พิสูจน์ขึ้นด้วยคณิตศาสตร์
    ทั้งๆๆ ที่คณิตศาสตร์ มุนยษ์เป็นคนกำหนดขึ้นมาเองทั้งนั้นละครับ
    เราเกิดมาบนโลกไม่ใช้มีเลข 1-10 แปะ อยู่บนเทือกเขา เอเวอเรส สะที่ไหนละครับ กายยาบของมุนษย์ที่เป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาเองทั้งนั้น
    เอาง่ายๆ ครับ เราลองโยนก้อนหินใส่หัวคนสิครับ อีกคนบอกเจ็บมาก อีกคนบอกเจ็บน้อย เรารองตดสิครับ อีกคนบอกเหม็น อีกคนไม่เหม็น
    ถ้าเกิดว่า เพาโตล กับ อริสโตเติล ไม่ได้เป็นคนปูแนวทางนี้ขึ้นมา
    คณิตศาสตร์ และ ฟิสิกส์ ก็คงเปลี่ยนไปเป็นอีกแนวนะครับ ลองคิดดู
    ปล.ผมก็ชอบวิชาฟิสิกส์เหมือนกันแต่มันเป็นแนวคิดของผมเท่านั้น
    คงไม่ว่าอารายกันนะเพราะคนเราความคิดเห็นแตกต่างกันได้ใช่ไหมครับ 


    จากคุณ : Wasted -

    ผมคิดว่าแม้คณิตศาสตร์และฟิสิกส์เป็นสิ่งที่มนุษญย์คิดค้น
    แต่ก็เป็นสิ่งที่อธิบายธรรมชาคิในจักรวาลนี้ เชิงสัญลักษณ์
    ถ้ามีสิ่งที่มีสติปัญญาอื่นๆก็ต้องอธิบายธรรมชาติ เป็นไปตามนี้
    เหมือนร้องบทเพลงของจักรวาล แต่เขียนโน๊ตคนละแบบ แต่บรรเลงก็มาเป็นเพลงเดียวกัน อย่างไพเราะ เเละงดงาม
    เรื่องเลขบนเอเวอเรส คงเป็นคนละประเด็นมั้งครับ
    กายหยาบ หรือละเอียดนั้น ตอนนี้คงเกินขอบเขตที่พิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ 
    แม้ความรู้สึกต่างๆที่วัดไม่ได้นั้น เราก็พยายามทำความเข้าใจ การวัดความรู้สึกเจ็บก็มีวิธีต่าง ๆ

    ตอนเรียน ม ปลาย ไม่เคยเรียนประวัติ วิทยาศาสตร์ เรียนแบบแยกส่วน เคมีไป ฟิสิกส์ก็ไม่ได้รู้ว่าแต่ละอันมาอย่างไร เหมือนเรียน แต่ไม่รู้แท้ เลยไม่สนุก ตอนหลังพยามศึกษาเพิ่มเติม เมื่อนำเรื่องมาประติดประต่อกัน ภาพสรรพสิ่งรอบตัวเรา ล้วนมีความหมาย การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์แต่ละท่านก็เป็นเรื่องราว และพบปัญหาที่อธิบายไม่ได้ ในเวลานั้นๆ แต่เรารู้คำตอบแล้วก็นึกถึงเวลาแต่ละท่านหน้านิ่วคิ้วขมวด ก็ขำๆ ก็อยากย้อนเวลาไปบอกซะจริงๆ เราได้ความรู้ จากหยาดเหงื่อ แรงใจ ของท่าน 
    แม้เวลาผ่านไปคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ก็เป็นภาษาที่สากลของมนุษย์ชาติ
    ชาติ ภาษาพูด เปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าสูญเสียความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไป เราจะสูญเสียความสามรถในการดำรงเผ่าพันธุ์ไป 


    จากคุณ : mmkung

    แล้วคุณเชื่อถือในสิ่งใดครับ เพราะแม้แต่ศาสนา มนุษย์ก็เป็นคนกำหนดขึ้นมาเองเช่นกันนะครับ
    ก็ต้องขอบอกว่า การที่เราจะกำหนดสิ่งใดๆขึ้นมาเป็นมาตรฐานก็ต้องมีเหตุผลอันเหมาะสมก่อน
    ไม่ใช่ว่าจะนั่งเทียนเขียนกำหนดมันขึ้นมา
    ทั้งคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างยืนอยู่บนหลักเหตุผล มีเหตุมีปัจจัย
    เช่น ที่คุณบอกให้โยนก้อนหินใส่หัวคน เราก็ต้องควบคุมปัจจัยให้เหมือนกันที่สุดสิครับ
    เราถึงจะได้ผลที่เหมือนกัน ก้อนหินก้อนเดียวกัน โยนด้วยแรงเท่ากัน ทิศทางองศาต่างๆเท่ากัน คนโดนเป็นคนๆเดียวกัน สภาพแวดล้อมเดียวกัน สภาพจิตใจเดียวกัน ฯลฯ
    ถ้าควบคุมได้แบบนี้ ผลก็ควรจะออกมาว่าเจ็บเท่ากันครับ
    เพราะไม่เช่นนั้นคุณจะไม่ได้มีสิ่งที่ให้ผลเหมือนๆกันใช้อย่างทุกวันนี้หรอกครับ
    ยกตัวอย่างง่ายๆก็คอมฯนี่แหละครับ ถ้าสร้างโครงสร้างทุกอย่างให้เหมือนกัน(คือคล้ายกันที่สุด)
    ก็จะได้คอมที่ทำงานได้ประสิทธิภาพเหมือนกัน
    แล้วถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ก็ใช้ทฤษฎีเดิมในการวิเคราะห์ค่าใหม่
    ก็จะได้เป็นอีกเครื่องที่ทำงานได้อีกระดับ ซึ่งถ้าเปลี่ยนเหมือนๆกันทุกเครื่อง ก็จะได้เครื่องที่เหมือนๆกันออกมาอีก
    ต้องทำความเข้าใจนะครับว่าตัวเลขและตัวแปรต่างๆมีไว้ใช้เพื่อการอ้างอิง
    ไม่ได้มีเลข 1-10 แปะอยู่บนเอเวอร์เรสก็จริง แต่ถ้าคุณเดินทางไปในทิศทางนี้ๆๆ ระยะทางเท่านี้ๆๆ ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลเท่านี้ๆๆ ฯลฯ คุณก็จะเจอยอดเอเวอร์เรส
    ไม่งั้นคุณจะพูดสื่อสารกับคนอื่นว่ายังไงล่ะครับ เขาถึงจะไปเอเวอเรสได้ถูก
    ถ้าไม่ใช้สิ่งที่ประสาทสัมผัสเราจะเข้าถึงได้ แล้วเราจะรู้เรื่องได้ยังไง
    ถ้าไม่ใช้กายหยาบนี้จะให้ใช้อะไร ความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างของมนุษย์ก็มาจากสมองที่เป็นกายหยาบนี่แหละครับ

    ผมก็พอรู้นะว่าคุณจะบอกว่าใช้อะไร แต่มันจะใช้ได้จริงเหรอครับ ถ้าใช้ได้จริงเค้าคงใช้กันให้พรึบแล้ว
    มันไม่สำคัญว่ามันมีจริงหรือไม่มีจริง แต่สำคัญที่ว่ามันใช้ได้จริงรึเปล่า
    อยู่กทม. จะไปเชียงใหม่ยังไง ทางไหน ก็ต้องดูแผนที่ ไปตามทาง เดี๋ยวก็ถึง นั่งรถก็ถึงเร็ว เดินไปก็ถึงช้า แต่ถ้านั่งสมาธิอยู่กับบ้าน นั่งให้ตายก็ไปไม่ถึงเชียงใหม่ครับ
    แต่ถ้าใจไม่สงบ มีรถสิบๆคันก็ไม่ช่วยครับ ก็ต้องนั่งสมาธิ  เห็นมั๊ยครับว่ามันคนละอย่างคนละเรื่องกัน ไม่ใช่ว่าอะไรๆมันก็ครอบคลุมซะหมด

    แล้วที่คุณว่าถ้าพลาโตกับอริสโตเติลไม่ได้ปูมาแนวนี้...
    สุดท้ายแล้วมันก็จะออกมาแนวนี้แหละครับ เพราะมันคือความจริงอันแน่แท้อยู่แล้ว
    เพียงแต่มันจะถูกอ้างอิงให้เข้าถึงที่อาจจะต่างจากเดิมบ้าง เช่น เลขฐาน10 ก็อาจเป็นฐาน12 เป็นต้น  แต่สุดท้ายสมการหรือทฤษฎีต่างๆก็จะเป็นเหมือนเดิม เพราะปรากฏการณ์ต่างๆนั้นยังคงเหมือนเดิม
    แสงยังคงเดินทางด้วยความเร็วเท่าเดิม ไม่ใช่ว่าไม่มีพลาโต ไม่มีอริสโตเติล หรือไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนแล้วจะทำให้แสงเดินทางด้วยความเร็วต่างออกไป
    ทุกๆอย่างในวิทยาศาสตร์ยังประพฤติตัวเช่นเดิมหมด ก็อยู่ที่ว่าคนเราจะไปคนพบและตั้งกฏเกณฑ์เพื่ออ้างอิงกันอย่างไร ซึ่งยังไงซะสุดท้ายก็จะได้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากปัจจุบันเท่าไหร่หรอกครับ

    ศาสนาก็เหมือนกัน แกนหลักจริงๆก็อ้างอิงหลักความจริง สิ่งไหนใช้ได้จริงก็เหมาะสมที่จะเชื่อถือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สิ่งไหนไม่จริงเชื่อไปก็เป็นแค่ความงมงาย ก็ตัดทิ้งไปซะ เลือกเชื่อ เลือกใช้ เลือกทำ
    ลองคิดดู

    ผมจึงรู้สึกไม่ค่อยพอใจ ถ้าคุณจะบอกว่าคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ไม่น่าเชื่อถือ โดยไม่ได้ทำการพิสูจน์อะไรให้ดูเลยว่าไม่น่าเชื่อถือยังไง
    เพราะเรื่องที่คุณยกมาอ้างนั้นผมไม่เห็นว่ามันจะเกี่ยวกันตรงไหนยังไงเลย ไม่เห็นว่ามันจะสามารถหักล้างทฤษฎีต่างๆทางคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ได้ตรงไหนเลย

    คนเราคิดแตกต่างได้สิครับ แต่ควรจะคิดแบบมีเหตุผล ถ้าเอาแต่คิดต่างอย่างเดียวโดยไม่มีเหตุมีผล มันจะไปต่างอะไรกับคนบ้าครับ 


    จากคุณ : meddy hao

    สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ถูกมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือ
    อธิบายคณิตศาสตร์ ซึ่งมีของมันอยู่แล้ว ไม่ว่ามนุษย์จะค้นพบ
    หรือไม่ก็ตาม และคณิตศาสตร์ที่อธิบายด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น 
    ก็เป็นเครื่องมือที่มนุษย์นำมาใช้สำหรับอธิบายฟิสิกส์ ซึ่งมีของมัน
    อยู่แล้วเช่นกัน 

    ฟิสิกส์ในปัจจุบัน แม้ไม่สามารถอธิบายทุกสิ่งคลุมถึงในทั้งหมด
    ทั้งมวลได้ แต่มันสามารถอธิบายปรากฏการณ์บางอย่าง ที่อยู่ใน
    ระดับใดระดับหนึ่ง หรือเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ได้
    คือเมื่อมีปัจจัยอย่างนี้ ๆ แล้วมันจะเป็นอย่างนี้ ๆ กล่าวได้เช่นนี้
    แต่เมื่อไม่มีปัจจัยอย่างนี้ ๆ เราไม่อาจกล่าวได้ว่า เป็นเช่นนี้ ๆ

    ดังนั้น ขอแย้ง #40 


    จากคุณ : กัลลอร์ง

    ผมเป็นคนนึงครับ ที่ตอนเรียน ม.ปลาย คิดว่า ฟิสิกส์ยากมาก เรียนยังไงก็ไม่เข้าใจ 
    ท้อมากถึงขนาดโดดเรียนวิชานี้ เกือบทุกครั้ง ตอบสอบก็ลอกๆเอา พอให้ผ่านไปได้
    ที่เลือกเรียน สายวิทย์-คณิต เพราะตอน ม.ต้น พอจะเก่ง คณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์บ้าง
    แต่ไม่ชอบภาษาอังกฤษเลย เลยต้องเลือกเรียน สายนี้
    จนกระทั่งตอน ม.6 ดันอยากจะเรียนคณะที่ต้องใช้ คะแนน ฟิสิกส์ สะอีก
    เลยต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ถึงได้เข้าใจว่าที่ตอนเรียนแล้วไม่เข้าใจ
    เป็นเพราะว่าพื้นฐานไม่ดี พอเริ่มอ่านเริ่มทำความเข้าใจใหม่ ค่อยๆศึกษาไปทีละนิด
    รู้สึกว่ามันสนุกดี ทำให้ผมเริ่มเข้าใจธรรมชาติของสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามากขึ้น
    หลังจากผลสอบออกมา ผมก็ได้ผลคะแนนเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ผมได้เข้าเรียน
    ในคณะที่ต้องการได้ แล้วก็ได้มาเจอกับ ฟิสิกส์ ในมหาลัยอีก
    คราวนี้ยิ่งทำให้ผมเข้าใจและได้ศึกษามันได้ลึกซึ้งมากกว่าเดิมขึ้นมาก
    ผมคิดว่าฟิสิกส์เป็นวิชาที่สามารถพัฒนาทักษะทางด้านการใช้เหตุผลให้เพิ่มมากขึ้นได้

    ปล. ห้องเรียนที่ผมเรียน มีเด็กโอลิมปิกหลายคน แต่ผลการสอบ
    คนที่ได้เหรียญทองฟิสิกส์ ก็ไม่ได้เป็นคนที่ได้คะแนนฟิสิกส์มากที่สุดเสมอไปครับ 

    ชอบมากแต่แม่ไม่ให้เรียน ทั้งฟิสิกส์และคณิตศาสตร์(แกจะไปทำไรกิน)
    ตอนนั้น เราไม่สามารถตอบคำถามของแม่ได้ เพราะจริง ๆ แล้วก็ไม่รู้ว่าเรียนไปทำไม
    โง่จริง ๆ  แม่ถามว่าเทอมนี้เรียนอะไรบ้าง เราตอบว่า แอดวานซ์แคลคูลัส แม่ถามว่ามันคืออะไร
    เราตอบไม่ได้ (ก็รู้อ่ะนะว่ามันใช้หาพื้นที่ ปริมาตรได้  แต่เพราะความที่เรียนแต่แก้โจทย์
    เลยไม่สามารถยกตัวอย่างให้แม่เห็นได้เป็นรูปธรรม) อีกทีก็ดาราศาสตร์ - จะเรียนไปทำไม - 
    ตอบไม่ได้

    ปัจจุบันนี้ จบมาจากสาขาโน่นนิดนี่หน่อยที่นิยมในสมัยนั้น แต่ใช้ไม่ค่อยได้ในสมัยนี้  และไอ่งานที่
    เกี่ยวข้องกับที่เรียนมาก็ไม่ชอบทำ เฮ้อ

    บทเรียนสอนให้รู้ว่าอีกหน่อยลูกเรามาปรึกฯ เรื่องเรียน เราจะต้องไปหาข้อมูลให้เข้าใจเรื่องหนทางประกอบอาชีพของเรื่องนั้น ๆ ก่อน (อย่าไปถามเด็ก) ถ้าเด็กมันชอบ ต้องสนับสนุนเพราะมัน
    จะมีความสุขมาก ๆ เมื่อหาหนทางของมันเจอ

    ส่วนน้อง ๆ ที่สนใจเรียนวิชาไหนๆ ก็ตาม  ให้ไปศึกษารายละเอียดมา จะได้ดีเฟนด์กับที่บ้านได้
    กรณีที่ทางบ้านเขาไม่รู้จักวิชานั้น ๆ และมีแนวโน้มว่าอยากให้เราเรียนไอ่ที่เขาคิดว่าดีมากกว่า 


ไม่มีความคิดเห็น: