คลื่นความคิด : “ซาวัง” อัจฉริยะสุดพิลึก
บัญชา ธนบุญสมบัติ
buncht@mtec.or.th
คราวนี้ผมมีโจทย์คณิตคิดในใจข้อหนึ่งมาทดสอบ นั่นคือ “หากชายคนหนึ่งมีอายุ ๗๐ ปี ๑๗ วัน กับอีก ๑๒ ชั่วโมง ถามว่าชายคนนี้มีอายุกี่วินาที” (ให้เวลาคิดไม่เกิน ๑ นาทีครึ่ง และย้ำว่าต้องคิดในใจเท่านั้น)
เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า คุณจะร้องดังๆ ในใจว่า “เฮ้ย ! คนนะ...ไม่ใช่เครื่องคิดเลข” อะไรทำนองนี้
แต่หากมีใครสักคนที่ดูท่าทางแปลกๆ อยู่ใกล้ๆ คุณ โพล่งคำตอบออกมาว่า ๒,๒๑๐,๕๐๐,๘๐๐ วินาที คุณคงจะรู้สึกทึ่งแกมสงสัยว่า คิดได้ไง (ฟะ) เนี่ย เพราะคำตอบนี้ถูกต้อง โดยคิดรวมปีอธิกสุรทินเข้าไปด้วยแล้ว
ในกรณีเช่นนี้ เป็นไปได้เหลือเกินว่า คุณได้พบกับอัจฉริยะแบบพิเศษที่มีน้อยคนในโลก ซึ่งเรียกว่า “ซาวัง” (savant) เข้าให้แล้ว คำคำนี้ออกเสียงว่า ซาวัง เพราะมาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ผู้มีความรู้ (learned man)
แล้วที่ว่าซาวังเป็นอัจฉริยะแบบพิเศษนี่ พิเศษยังไง ? ก็พวกอัจฉริยะมักจะมีความสามารถโดดเด่นแตกต่างจากคนทั่วไปอยู่แล้วไม่ใช่รึ ?
อย่างแรกสุดเลยก็คือ ซาวังจะมีความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่นพร้อมๆ ไปกับมีความผิดปรกติทางพัฒนาการ เช่น เป็นโรคออทิสติก หรือไม่ก็มีความผิดปรกติเกี่ยวกับสมอง เช่น เป็นโรคสมองอักเสบ ร่วมด้วยเสมอ
ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มอัจฉริยะเฉพาะทางเหล่านี้ส่วนใหญ่มีไอคิวต่ำ เพียงแค่ในช่วง ๔๐-๗๐ เท่านั้น (ค่าไอคิวเฉลี่ยหรือค่าไอคิวของคนปรกติอยู่ในช่วง ๙๐-๑๑๐) เพราะความผิดปรกติทางพัฒนาการ (หรือทางสมอง) ดังกล่าว ทำให้คนเหล่านี้ขาดความสามารถพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เช่น ผูกเชือกรองเท้าไม่เป็น หรือตอนเด็กๆ ตักอาหารเข้าปากเองไม่ได้ (อย่างไรก็ดี เรื่องไอคิวนี่ก็มีข้อยกเว้น เพราะมีการพบว่าซาวังบางคนมีไอคิวถึง ๑๑๔)
เนื่องจากกลุ่มอาการซาวัง (savant syndrome) เกี่ยวข้องกับโรคออทิสติก (autistic disorder) และความผิดปรกติทางพัฒนาการ (developmental disorder) อย่างใกล้ชิด ผมจึงลองเขียนแผนภาพอย่างง่ายๆ ไว้ให้ ซึ่งน่าจะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า โรคออทิสติกเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคจิตเวชเด็ก ซึ่งมีความผิดปรกติในพัฒนาการทางจิตอย่างรุนแรง โรคนี้จะเริ่มปรากฏอาการในเด็กอายุก่อน ๓ ปี โดยมีความผิดปรกติในด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความสามารถในการสื่อความหมายบกพร่อง ผู้ป่วยจะมีอิริยาบถซ้ำๆ หมกมุ่นกับบางกิจกรรมนานๆ (โปรดเปรียบเทียบคำว่า autistic disorder กับ autism ซึ่งพจนานุกรมเล่มนี้บัญญัติว่า ออทิซึม หมายถึง ภาวะที่บุคคลอยู่ในโลกจินตนาการของตนเอง ซึ่งไม่เป็นจริง)
ในกลุ่มคนที่เป็นโรคออทิสติกนั้น จะพบซาวังประมาณ ๑ ใน ๑๐ คน (โดยคนที่เป็นทั้งออทิสติกและซาวังจะเรียกว่า autistic savant แสดงด้วยบริเวณที่แรเงาในแผนภาพ) ส่วนกลุ่มคนที่มีปัญหาความผิดปรกติทางพัฒนาการ เช่น ปัญญาอ่อน หรือสมองพิการ ก็จะพบซาวัง ๑ คน ใน ๒,๐๐๐ คน โดยประมาณ
แต่เนื่องจากกลุ่มคนที่เป็นโรคออทิสติกมีน้อยกว่ากลุ่มคนที่มีปัญหาความผิดปรกติทางพัฒนาการ (และปัญหาความพิการของสมอง) มาก ดังนั้นหากสุ่มคนที่เป็นซาวังมาจำนวนหนึ่ง ก็จะพบว่ามีคนที่เป็นโรคออทิสติกราวครึ่งหนึ่ง (หรืออาจจะเกินครึ่งหนึ่งไปเล็กน้อย)
ความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่นมีอะไรบ้าง?
จากการศึกษาในช่วงราว ๑ ศตวรรษที่ผ่านมาพบว่า ความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่นนี้อาจแบ่งได้เป็น ๕ ลักษณะหลักๆ ได้แก่
คนที่เป็นซาวังเหล่านี้มีอะไรร่วมกันอีกไหม (นอกจากที่ต้องมีความผิดปรกติทางพัฒนาการ) ?
สังเกตดีๆ จะเห็นว่า ซาวังทุกคนจะมีความจำที่เป็นเลิศอย่างน่าพิศวง เพราะซาวังที่เก่งดนตรีจะสามารถจดจำรายละเอียดของเพลงทั้งเพลงได้จากการฟังเพียงครั้งเดียว ซาวังที่เก่งศิลปะจะสามารถจดจำรายละเอียดของรูปร่างและสัดส่วนต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยหากเป็นการวาด มีผู้สังเกตพบว่าซาวังจะวาดรายละเอียดของแต่ละส่วนออกมาทีละส่วน มาต่อกันอย่างแนบเนียนภายหลัง (โดยไม่ต้องร่างภาพใหญ่ก่อน) และซาวังบางคนจดจำสภาวะลมฟ้าอากาศของแต่ละวันตลอดชีวิตของเขาได้อีกด้วย !
ตัวอย่างซาวังที่มีความจำอันน่าพิศวง ได้แก่ คิม พีก (Kim Peek) ซึ่งสามารถจดจำข้อความในหนังสือกว่า ๙,๐๐๐ เล่มได้อย่างขึ้นใจ (เอ้า ! ใครคิดว่าตัวเองเป็นยอดนักอ่าน โปรดลองคิดใหม่ได้คร้าบ) นอกจากนี้เขายังจำรหัสไปรษณีย์ หมายเลขของทางด่วน และข้อมูลเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์ในอเมริกาได้ทั้งหมด
คิม พีก นี่เองที่เป็นแรงดลใจที่ทำให้เกิดตัวละครชื่อ เรย์มอนด์ แบ็บบิตต์ (Raymond Babbitt) ซึ่งรับบทโดย ดัสติน ฮอฟฟ์แมน (Dustin Hoffman) ในภาพยนตร์เรื่อง Rain Man ในเรื่องนี้เรย์มอนด์ แบ็บบิตต์ เป็นออทิสติกซาวังซึ่งมีความจำเป็นเลิศและคำนวณได้แบบสายฟ้าแลบ
มีทฤษฎีอธิบายกลุ่มอาการซาวังไหม?
ในปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีหนึ่งทฤษฎีใดที่สามารถอธิบายกลุ่มอาการซาวัง และความสามารถพิเศษของคนที่เป็นซาวังได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนด้วยหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆ กล่าวแบบง่ายๆ ได้ว่า กลุ่มอาการซาวังเกิดจากการที่สมองซีกซ้ายได้รับความเสียหาย โดยสมองซีกขวาได้เข้ามาทำหน้าที่ทดแทน (left brain damage injury with right brain compensation)
แม้ว่าการอธิบายโดยแยกสมองออกเป็น ๒ ซีกนี้จะฟังดูง่ายเกินไปสักหน่อย แต่ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ก็คือ ทักษะและความสามารถของซาวังส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับสมองซีกขวา และทักษะที่ไม่มี (หรือไม่ค่อยพบ) ในกลุ่มคนที่เป็นซาวังนั้นเกี่ยวข้องกับสมองซีกซ้าย (เช่น ความคิดเชิงตรรกะ และความคิดเชิงนามธรรม)
ข้อมูลจากเครื่องมือไฮเทคสมัยใหม่ เช่น CT (Computer Tomography) และ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ก็สนับสนุนแนวคิดนี้ เนื่องจากพบข้อบกพร่องในสมองซีกซ้ายของคนที่เป็นซาวังจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า อัตราส่วนของผู้ชายต่อผู้หญิงที่เป็นซาวังมีค่าประมาณ ๖:๑ ซึ่งไปกันได้กับการค้นพบที่ว่า ในระหว่างพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้น สมองซีกซ้าย (ของทั้งชายและหญิง) จะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ช้ากว่าสมองซีกขวาเสมอ ดังนั้นสมองซีกซ้ายจึงมีความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ มากกว่าสมองซีกขวา ในกรณีของซาวังนี้มีการเสนอว่า อาจเกิดจากฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสทอสเทอโรนที่ไหลเวียนอยู่ทำให้เซลล์ประสาทเกิดความเสียหาย (เรียกแบบง่ายๆ ว่า testosterone poisoning) โดยในกรณีของทารกเพศชาย ฮอร์โมนนี้จะพุ่งขึ้นสูงและอาจถึงระดับที่เป็นพิษต่อประสาทได้ นั่นคือผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะมีสมองซีกซ้ายเสียหายมากกว่าผู้หญิง
น่าสนใจว่า ไม่เพียงแต่ผู้ชายจะมีโอกาสแสดงอาการซาวังมากกว่าผู้หญิงเท่านั้น แต่สถิติในลักษณะเดียวกันนี้ยังพบในกลุ่มอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ผิดปรกติ (central nervous system dysfuncion) ด้วย เช่น ภาวะเสียการอ่านรู้ความ (dyslexia) การพูดติดอ่าง (stuttering) ภาวะทำงานมากเกิน (hyperactivity) และออทิซึม (autism) เป็นต้น
มีแนวคิดหนุกๆ อีกอย่างหนึ่งที่น่ารู้ไว้ด้วย นั่นคือ นักวิจัยบางท่าน เช่น อัลแลน สไนเดอร์ (Allan Snyder) เชื่อว่า ในตัวคนเราทุกคนนี้อาจจะมีความสามารถแบบซาวังซุกซ่อนอยู่แล้ว (ฝรั่งเล่นคำโดยเรียกว่า “A Little Rain Man in Us All”) เพราะเคยมีกรณีที่ผู้ป่วยรายหนึ่ง คือ ออร์แลนโด เซอร์เรลล์ (Orlando Serrell) โดนลูกเบสบอลกระแทกศีรษะเมื่อตอนอายุได้ ๑๐ ขวบ หลังจากนั้นราว ๒-๓ เดือน เขาก็เริ่มท่องบ่นเลขทะเบียนรถยนต์ เนื้อเพลง รวมทั้งคำพยากรณ์อากาศต่างๆ ออกมาไม่ขาดปาก
แนวคิด “A Little Rain Man in Us All” นี้เองที่ทำให้บางคนคิดฝันไปไกลว่า ถ้าเราสามารถคิดค้นวิธีการที่ปลอดภัย (คือ ไม่ใช่เอาอะไรมากระแทกศีรษะ) ที่จะกระตุ้นความสามารถแบบซาวังออกมาใช้งานเฉพาะในเวลาที่ต้องการ ก็น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง วันใดหากเรื่องนี้เกิดเป็นจริงขึ้นมา ก็คงจะกลายเป็นข่าวใหญ่เป็นแน่แท้ (สนใจใช้บริการอัดฉีดความเป็นอัจฉริยะนี่ไหมครับ :-P)
เท่าที่เล่ามานี้ ดูเหมือนว่าคนที่เป็น “ซาวัง” นั้นน่าจะคบได้ เพราะน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรอบข้างได้ดีทีเดียว
แต่ถ้าเจอคนที่เป็น “ซาดิสต์” ก็ควรจะรีบเอ่ย “ซาโยนาระ” แล้วเร่งหนีไปไกลๆ ครับ (ใส่ smiley รูปยิ้มเหมือนในหนังสือเลยครับ)
แนะนำขุมทรัพย์ทางปัญญา
ขอแนะนำบทความเรื่อง “Inside the Mind of a Savant” เขียนโดย Darold A. Treffert และ Daniel D. Christensen ใน Scientific American เดือนธันวาคม ๒๐๐๕ (หน้า ๘๘-๙๓) และเรื่อง “Islands of Genius” เขียนโดย Darold A. Treffert และ Gregory L. Wallace ใน Scientific American เดือนมิถุนายน ๒๐๐๒ (หน้า ๖๐-๖๙)
สำหรับเว็บ ขอแนะนำ Savant Syndrome: Islands of Genius ที่ www.wisconsinmedicalsociety.org/savant ที่นี่มีข้อมูลสุดเนี้ยบจริงๆ ครับ
buncht@mtec.or.th
คิม พีท เป็นซาวังซึ่งสามารถจดจำ ข้อความในหนังสือ กว่า 9,000 เล่มได้อย่างขึ้นใจ |
คราวนี้ผมมีโจทย์คณิตคิดในใจข้อหนึ่งมาทดสอบ นั่นคือ “หากชายคนหนึ่งมีอายุ ๗๐ ปี ๑๗ วัน กับอีก ๑๒ ชั่วโมง ถามว่าชายคนนี้มีอายุกี่วินาที” (ให้เวลาคิดไม่เกิน ๑ นาทีครึ่ง และย้ำว่าต้องคิดในใจเท่านั้น)
เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า คุณจะร้องดังๆ ในใจว่า “เฮ้ย ! คนนะ...ไม่ใช่เครื่องคิดเลข” อะไรทำนองนี้
แต่หากมีใครสักคนที่ดูท่าทางแปลกๆ อยู่ใกล้ๆ คุณ โพล่งคำตอบออกมาว่า ๒,๒๑๐,๕๐๐,๘๐๐ วินาที คุณคงจะรู้สึกทึ่งแกมสงสัยว่า คิดได้ไง (ฟะ) เนี่ย เพราะคำตอบนี้ถูกต้อง โดยคิดรวมปีอธิกสุรทินเข้าไปด้วยแล้ว
ในกรณีเช่นนี้ เป็นไปได้เหลือเกินว่า คุณได้พบกับอัจฉริยะแบบพิเศษที่มีน้อยคนในโลก ซึ่งเรียกว่า “ซาวัง” (savant) เข้าให้แล้ว คำคำนี้ออกเสียงว่า ซาวัง เพราะมาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ผู้มีความรู้ (learned man)
แล้วที่ว่าซาวังเป็นอัจฉริยะแบบพิเศษนี่ พิเศษยังไง ? ก็พวกอัจฉริยะมักจะมีความสามารถโดดเด่นแตกต่างจากคนทั่วไปอยู่แล้วไม่ใช่รึ ?
อย่างแรกสุดเลยก็คือ ซาวังจะมีความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่นพร้อมๆ ไปกับมีความผิดปรกติทางพัฒนาการ เช่น เป็นโรคออทิสติก หรือไม่ก็มีความผิดปรกติเกี่ยวกับสมอง เช่น เป็นโรคสมองอักเสบ ร่วมด้วยเสมอ
ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มอัจฉริยะเฉพาะทางเหล่านี้ส่วนใหญ่มีไอคิวต่ำ เพียงแค่ในช่วง ๔๐-๗๐ เท่านั้น (ค่าไอคิวเฉลี่ยหรือค่าไอคิวของคนปรกติอยู่ในช่วง ๙๐-๑๑๐) เพราะความผิดปรกติทางพัฒนาการ (หรือทางสมอง) ดังกล่าว ทำให้คนเหล่านี้ขาดความสามารถพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เช่น ผูกเชือกรองเท้าไม่เป็น หรือตอนเด็กๆ ตักอาหารเข้าปากเองไม่ได้ (อย่างไรก็ดี เรื่องไอคิวนี่ก็มีข้อยกเว้น เพราะมีการพบว่าซาวังบางคนมีไอคิวถึง ๑๑๔)
ใครคิดคำว่า savant?
น่ารู้ไว้ด้วยว่า คนที่เสนอคำว่า ซาวัง (savant) นี้เป็นคนแรกคือ นายแพทย์จอห์น แลงดอน ดาวน์ (John Landon Down) โดยเรียกคนที่มีอาการเช่นนี้ว่า อีเดียตซาวัง (idiot savant) เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีไอคิวต่ำ (ชื่อของ ดร. ดาวน์ นี้คนทั่วไปมักจะรู้จักผ่านชื่อกลุ่มอาการดาวน์ หรือ Down’s syndrome มากกว่า)
อย่างไรก็ดี ตามนิยามทางจิตวิทยานั้น คำว่า อีเดียต (idiot) หมายถึง คนที่มีไอคิวต่ำว่า ๒๕ แต่ซาวังมีไอคิวในช่วง ๔๐-๗๐ ดังนั้นจึงมีการเสนอให้เปลี่ยนไปใช้คำว่า ซาวัง (savant) และกลุ่มอาการซาวัง (savant syndrome) แทน นอกจากนี้คำว่า อีเดียต ยังมีนัยยะในเชิงดูถูกสติปัญญา ซึ่งไม่สอดคล้องกับความสามารถพิเศษของคนที่มีอาการซาวังเท่าใดนัก
น่ารู้ไว้ด้วยว่า คนที่เสนอคำว่า ซาวัง (savant) นี้เป็นคนแรกคือ นายแพทย์จอห์น แลงดอน ดาวน์ (John Landon Down) โดยเรียกคนที่มีอาการเช่นนี้ว่า อีเดียตซาวัง (idiot savant) เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีไอคิวต่ำ (ชื่อของ ดร. ดาวน์ นี้คนทั่วไปมักจะรู้จักผ่านชื่อกลุ่มอาการดาวน์ หรือ Down’s syndrome มากกว่า)
อย่างไรก็ดี ตามนิยามทางจิตวิทยานั้น คำว่า อีเดียต (idiot) หมายถึง คนที่มีไอคิวต่ำว่า ๒๕ แต่ซาวังมีไอคิวในช่วง ๔๐-๗๐ ดังนั้นจึงมีการเสนอให้เปลี่ยนไปใช้คำว่า ซาวัง (savant) และกลุ่มอาการซาวัง (savant syndrome) แทน นอกจากนี้คำว่า อีเดียต ยังมีนัยยะในเชิงดูถูกสติปัญญา ซึ่งไม่สอดคล้องกับความสามารถพิเศษของคนที่มีอาการซาวังเท่าใดนัก
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการซาวัง โรคออทิสติก และความผิดปรกติทางพัฒนาการ บริเวณที่แรเงาแสดงกลุ่มคนที่เป็นทั้งออทิสติกและซาวัง เรียกว่า ออทิสติกซาวัง |
เนื่องจากกลุ่มอาการซาวัง (savant syndrome) เกี่ยวข้องกับโรคออทิสติก (autistic disorder) และความผิดปรกติทางพัฒนาการ (developmental disorder) อย่างใกล้ชิด ผมจึงลองเขียนแผนภาพอย่างง่ายๆ ไว้ให้ ซึ่งน่าจะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า โรคออทิสติกเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคจิตเวชเด็ก ซึ่งมีความผิดปรกติในพัฒนาการทางจิตอย่างรุนแรง โรคนี้จะเริ่มปรากฏอาการในเด็กอายุก่อน ๓ ปี โดยมีความผิดปรกติในด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความสามารถในการสื่อความหมายบกพร่อง ผู้ป่วยจะมีอิริยาบถซ้ำๆ หมกมุ่นกับบางกิจกรรมนานๆ (โปรดเปรียบเทียบคำว่า autistic disorder กับ autism ซึ่งพจนานุกรมเล่มนี้บัญญัติว่า ออทิซึม หมายถึง ภาวะที่บุคคลอยู่ในโลกจินตนาการของตนเอง ซึ่งไม่เป็นจริง)
ในกลุ่มคนที่เป็นโรคออทิสติกนั้น จะพบซาวังประมาณ ๑ ใน ๑๐ คน (โดยคนที่เป็นทั้งออทิสติกและซาวังจะเรียกว่า autistic savant แสดงด้วยบริเวณที่แรเงาในแผนภาพ) ส่วนกลุ่มคนที่มีปัญหาความผิดปรกติทางพัฒนาการ เช่น ปัญญาอ่อน หรือสมองพิการ ก็จะพบซาวัง ๑ คน ใน ๒,๐๐๐ คน โดยประมาณ
แต่เนื่องจากกลุ่มคนที่เป็นโรคออทิสติกมีน้อยกว่ากลุ่มคนที่มีปัญหาความผิดปรกติทางพัฒนาการ (และปัญหาความพิการของสมอง) มาก ดังนั้นหากสุ่มคนที่เป็นซาวังมาจำนวนหนึ่ง ก็จะพบว่ามีคนที่เป็นโรคออทิสติกราวครึ่งหนึ่ง (หรืออาจจะเกินครึ่งหนึ่งไปเล็กน้อย)
ความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่นมีอะไรบ้าง?
จากการศึกษาในช่วงราว ๑ ศตวรรษที่ผ่านมาพบว่า ความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่นนี้อาจแบ่งได้เป็น ๕ ลักษณะหลักๆ ได้แก่
ฝีมือทางดนตรี (music) : ตัวอย่างเด่นที่น่ารู้จัก ได้แก่ เลสลี่ เลมเก้ (Leslie Lemke) ซึ่งสามารถเล่นเปียโนเพลงคอนแชร์โตหมายเลข ๑ ของไชคอฟสกีได้อย่างไร้ที่ติตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี การบรรเลงนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ฟังเพลงนี้เป็นครั้งแรก และทิ้งช่วงห่างหลังจากการฟังนั้นแล้วหลายชั่วโม ง! ที่น่าสนใจอย่างยิ่งด้วยก็คือ เลสลี่ เลมเก้ ตาบอดและเป็นอัมพาตสมองใหญ่ (cerebral palsy) นอกจากนี้เขายังสามารถแต่งเพลงได้อีกด้วยเลสลี่ เลมเก้ (Leslie Lemke)
พรสวรรค์ทางศิลปะ (art) : กรณีศึกษาที่ต้องรู้จัก ได้แก่ หนูน้อยนาเดีย (Nadia) ซึ่งเป็นออทิสติกซาวัง เธอสามารถวาดภาพคนขี่ม้าจากความทรงจำ เมื่ออายุได้ราว ๓ ขวบ ภาพที่วาดนี้ไม่ใช่ภาพแบบที่เด็กๆ ทั่วไปวาด แต่มีสัดส่วนตามหลักสรีรวิทยาอย่างถูกต้อง แถมยังมีลักษณะความลึกแบบเพอร์สเปกทีฟอีกต่างหาก (อย่างไรก็ดี นาเดียได้เข้าโรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กออทิสติกเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเมื่ออายุได้ ๗ ขวบ และสูญเสียความสามารถในการวาดภาพอย่างสวยงามนี้ไปเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น)ภาพวาดคนขี่ม้าโดยนาเดีย
อีกคนหนึ่งที่น่ากล่าวถึงก็คือ อะลองโซ เคลมอนส์ (Alonzo Clemons) ซึ่งสามารถสร้างหุ่นจำลองรูปสัตว์จากขี้ผึ้งได้โดยการมองเพียงแวบเดียว หุ่นที่เขาสร้างขึ้นนี้เป็นแบบจำลอง ๓ มิติ ซึ่งมีรายละเอียด เช่น เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ถูกต้องอย่างหาที่ติแทบไม่ได้- การคำนวณปฏิทิน (calendar calculating) : ทักษะนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะดูเหมือนว่าจะซ่อนอยู่ในคนที่มีอาการซาวังแทบทุกคน เช่น สามารถบอกวันในสัปดาห์ (ว่าเป็นวันจันทร์ อังคาร ฯลฯ) เมื่อระบุวันที่ล่วงหน้าหรือย้อนหลังมาให้ หรือในกรณีของ “ฝาแฝดนักคำนวณ” (calculating twins) ซึ่ง โอลิเวอร์ แซกส์ (Oliver Sacks) ได้เล่าไว้ในหนังสือ A Man Who Mistook His Wife for a Hat นั้น อ้างว่าฝาแฝดคู่นี้สามารถคำนวณวันล่วงหน้าหรือย้อนหลังได้ถึง ๔๐,๐๐๐ ปี
- การคำนวณแบบสายฟ้าแลบ (lightning calculation) : ทักษะนี้ก็น่าสนใจ เพราะซาวังบางคนสามารถคำนวณได้อย่างรวดเร็วมาก ตัวอย่างคำถามในตอนต้นที่ว่า “หากชายคนหนึ่งมีอายุ ๗๐ ปี ๑๗ วัน กับอีก ๑๒ ชั่วโมง ถามว่าชายคนนี้มีอายุกี่วินาที” นั้น มาจากบันทึกของนายแพทย์เบนจามิน รัช (Benjamin Rush) “บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ของอเมริกา” ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๗๘๙ โดยคุณหมอได้เล่าไว้ว่า โทมัส ฟูลเลอร์ (Thomas Fuller) ซึ่งเป็นคนที่รู้คณิตศาสตร์เพียงแค่การนับ แต่กลับสามารถตอบคำถามนี้ได้อย่างถูกต้องในเวลา ๑ นาทีครึ่ง ความสามารถในลักษณะนี้ยังรวมถึงการระบุจำนวนเฉพาะ (prime number) โดยไม่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์พื้นฐานอีกด้วย
- ทักษะด้านเครื่องยนต์กลไก หรือระยะทาง (mechanical or spatial skills) : ซาวังบางคนสามารถซ่อมแซม หรือประกอบเครื่องจักรกลที่มีชิ้นส่วนซับซ้อนได้ บางคนก็มีความสามารถในการจดจำรายละเอียดของแผนที่ (เช่น เส้นทางต่างๆ ) หรือบางคนก็สามารถกะระยะทางได้อย่างแม่นยำโดยการมองเท่านั้น (แต่มีไม่มากนัก)
คนที่เป็นซาวังเหล่านี้มีอะไรร่วมกันอีกไหม (นอกจากที่ต้องมีความผิดปรกติทางพัฒนาการ) ?
สังเกตดีๆ จะเห็นว่า ซาวังทุกคนจะมีความจำที่เป็นเลิศอย่างน่าพิศวง เพราะซาวังที่เก่งดนตรีจะสามารถจดจำรายละเอียดของเพลงทั้งเพลงได้จากการฟังเพียงครั้งเดียว ซาวังที่เก่งศิลปะจะสามารถจดจำรายละเอียดของรูปร่างและสัดส่วนต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยหากเป็นการวาด มีผู้สังเกตพบว่าซาวังจะวาดรายละเอียดของแต่ละส่วนออกมาทีละส่วน มาต่อกันอย่างแนบเนียนภายหลัง (โดยไม่ต้องร่างภาพใหญ่ก่อน) และซาวังบางคนจดจำสภาวะลมฟ้าอากาศของแต่ละวันตลอดชีวิตของเขาได้อีกด้วย !
ตัวอย่างซาวังที่มีความจำอันน่าพิศวง ได้แก่ คิม พีก (Kim Peek) ซึ่งสามารถจดจำข้อความในหนังสือกว่า ๙,๐๐๐ เล่มได้อย่างขึ้นใจ (เอ้า ! ใครคิดว่าตัวเองเป็นยอดนักอ่าน โปรดลองคิดใหม่ได้คร้าบ) นอกจากนี้เขายังจำรหัสไปรษณีย์ หมายเลขของทางด่วน และข้อมูลเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์ในอเมริกาได้ทั้งหมด
คิม พีก นี่เองที่เป็นแรงดลใจที่ทำให้เกิดตัวละครชื่อ เรย์มอนด์ แบ็บบิตต์ (Raymond Babbitt) ซึ่งรับบทโดย ดัสติน ฮอฟฟ์แมน (Dustin Hoffman) ในภาพยนตร์เรื่อง Rain Man ในเรื่องนี้เรย์มอนด์ แบ็บบิตต์ เป็นออทิสติกซาวังซึ่งมีความจำเป็นเลิศและคำนวณได้แบบสายฟ้าแลบ
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง Rain Man |
มีทฤษฎีอธิบายกลุ่มอาการซาวังไหม?
ในปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีหนึ่งทฤษฎีใดที่สามารถอธิบายกลุ่มอาการซาวัง และความสามารถพิเศษของคนที่เป็นซาวังได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนด้วยหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆ กล่าวแบบง่ายๆ ได้ว่า กลุ่มอาการซาวังเกิดจากการที่สมองซีกซ้ายได้รับความเสียหาย โดยสมองซีกขวาได้เข้ามาทำหน้าที่ทดแทน (left brain damage injury with right brain compensation)
แม้ว่าการอธิบายโดยแยกสมองออกเป็น ๒ ซีกนี้จะฟังดูง่ายเกินไปสักหน่อย แต่ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ก็คือ ทักษะและความสามารถของซาวังส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับสมองซีกขวา และทักษะที่ไม่มี (หรือไม่ค่อยพบ) ในกลุ่มคนที่เป็นซาวังนั้นเกี่ยวข้องกับสมองซีกซ้าย (เช่น ความคิดเชิงตรรกะ และความคิดเชิงนามธรรม)
ข้อมูลจากเครื่องมือไฮเทคสมัยใหม่ เช่น CT (Computer Tomography) และ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ก็สนับสนุนแนวคิดนี้ เนื่องจากพบข้อบกพร่องในสมองซีกซ้ายของคนที่เป็นซาวังจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า อัตราส่วนของผู้ชายต่อผู้หญิงที่เป็นซาวังมีค่าประมาณ ๖:๑ ซึ่งไปกันได้กับการค้นพบที่ว่า ในระหว่างพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้น สมองซีกซ้าย (ของทั้งชายและหญิง) จะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ช้ากว่าสมองซีกขวาเสมอ ดังนั้นสมองซีกซ้ายจึงมีความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ มากกว่าสมองซีกขวา ในกรณีของซาวังนี้มีการเสนอว่า อาจเกิดจากฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสทอสเทอโรนที่ไหลเวียนอยู่ทำให้เซลล์ประสาทเกิดความเสียหาย (เรียกแบบง่ายๆ ว่า testosterone poisoning) โดยในกรณีของทารกเพศชาย ฮอร์โมนนี้จะพุ่งขึ้นสูงและอาจถึงระดับที่เป็นพิษต่อประสาทได้ นั่นคือผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะมีสมองซีกซ้ายเสียหายมากกว่าผู้หญิง
น่าสนใจว่า ไม่เพียงแต่ผู้ชายจะมีโอกาสแสดงอาการซาวังมากกว่าผู้หญิงเท่านั้น แต่สถิติในลักษณะเดียวกันนี้ยังพบในกลุ่มอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ผิดปรกติ (central nervous system dysfuncion) ด้วย เช่น ภาวะเสียการอ่านรู้ความ (dyslexia) การพูดติดอ่าง (stuttering) ภาวะทำงานมากเกิน (hyperactivity) และออทิซึม (autism) เป็นต้น
มีแนวคิดหนุกๆ อีกอย่างหนึ่งที่น่ารู้ไว้ด้วย นั่นคือ นักวิจัยบางท่าน เช่น อัลแลน สไนเดอร์ (Allan Snyder) เชื่อว่า ในตัวคนเราทุกคนนี้อาจจะมีความสามารถแบบซาวังซุกซ่อนอยู่แล้ว (ฝรั่งเล่นคำโดยเรียกว่า “A Little Rain Man in Us All”) เพราะเคยมีกรณีที่ผู้ป่วยรายหนึ่ง คือ ออร์แลนโด เซอร์เรลล์ (Orlando Serrell) โดนลูกเบสบอลกระแทกศีรษะเมื่อตอนอายุได้ ๑๐ ขวบ หลังจากนั้นราว ๒-๓ เดือน เขาก็เริ่มท่องบ่นเลขทะเบียนรถยนต์ เนื้อเพลง รวมทั้งคำพยากรณ์อากาศต่างๆ ออกมาไม่ขาดปาก
แนวคิด “A Little Rain Man in Us All” นี้เองที่ทำให้บางคนคิดฝันไปไกลว่า ถ้าเราสามารถคิดค้นวิธีการที่ปลอดภัย (คือ ไม่ใช่เอาอะไรมากระแทกศีรษะ) ที่จะกระตุ้นความสามารถแบบซาวังออกมาใช้งานเฉพาะในเวลาที่ต้องการ ก็น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง วันใดหากเรื่องนี้เกิดเป็นจริงขึ้นมา ก็คงจะกลายเป็นข่าวใหญ่เป็นแน่แท้ (สนใจใช้บริการอัดฉีดความเป็นอัจฉริยะนี่ไหมครับ :-P)
เท่าที่เล่ามานี้ ดูเหมือนว่าคนที่เป็น “ซาวัง” นั้นน่าจะคบได้ เพราะน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรอบข้างได้ดีทีเดียว
แต่ถ้าเจอคนที่เป็น “ซาดิสต์” ก็ควรจะรีบเอ่ย “ซาโยนาระ” แล้วเร่งหนีไปไกลๆ ครับ (ใส่ smiley รูปยิ้มเหมือนในหนังสือเลยครับ)
แนะนำขุมทรัพย์ทางปัญญา
ขอแนะนำบทความเรื่อง “Inside the Mind of a Savant” เขียนโดย Darold A. Treffert และ Daniel D. Christensen ใน Scientific American เดือนธันวาคม ๒๐๐๕ (หน้า ๘๘-๙๓) และเรื่อง “Islands of Genius” เขียนโดย Darold A. Treffert และ Gregory L. Wallace ใน Scientific American เดือนมิถุนายน ๒๐๐๒ (หน้า ๖๐-๖๙)
สำหรับเว็บ ขอแนะนำ Savant Syndrome: Islands of Genius ที่ www.wisconsinmedicalsociety.org/savant ที่นี่มีข้อมูลสุดเนี้ยบจริงๆ ครับ
http://www.sarakadee.com/web
The URL for this story is:
http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=621
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น