http://www.chiangraifocus.com/webboard/view.php?Qid=11914&cat=1
โดย คนเชียงรายพันธุ์แท้
โดย คนเชียงรายพันธุ์แท้
cmu_555@hotmail.com
เรื่องคอกก๋างเวียงเจียงฮาย |
คอกก๋างเวียงตะก่อนเป๋นอะหยัง? ถ้ามีตอบว่าเป็นโต้งเป๋นป่า มันก็บ่ผิดหนา ก่อนแป๋งเมืองเจียงฮาย ตะก่อนมันบ่มีหยังเลยนิ แต่คนที่ถามว่า “คอกก๋างเวียงตะก่อนเป๋นอะหยัง?“ ท่าจะหมายถึงก่อนหน้าหั้นบ่เมิน ไหนๆก็จะอู้เรื่องคอกก๋างเวียงแล้ว ก็รวดอู้เรื่องโครงสร้างของเวียงไปตวยเลยดีกว่า “เวียง” เปิ้นนิยามไว้ว่า บริเวณเมืองที่มีคูน้ำและกำแปงล้อมรอบ เช่น เวียงจันทน์ เวียงศรีทวง เวียงพางคำ เวียงเชียงแสน เวียงเชียงราย เวียงกุมกาม เวียงเชียงใหม่ เวียงสวนดอก อย่างที่หู้ พญามังรายแป๋งเจียงฮาย โดยก่อกำแปงแวดดอยตองเมื่อ พ.ศ.1805 แต่ลักษณะของเวียงบ่หู้เป๋นจาใด จะใหญ่จะหน้อยในตำนานก็บ่ได้เขียนไว้ พ.ศ.2347-2386 เจียงฮายเป๋นเมืองฮ้าง หลังสงคามไล่พม่าออกจากล้านนา เมืองเจียงแสนโดนเผาไปตวย พ.ศ.2346 เจ้าหลวงธรรมลังกา ลุกหละปูนมาฟื้นเมืองเจียงฮาย เวียงเจียงฮายที่เฮาหู้เฮาหันก็เกิดขึ้นสมัยนี้ เปิ้นก่อกำแปงแลขุดคูเมือง มีปะตู๋เมือง 12 ปะตู๋ มีคูเมืองแวด ส่วนผะกอบหลักๆของเวียงในล้านนาจะมี คูเมือง กำแปง กาด คุ้ม วัด หอเสื้อเมือง (สะดือเมือง เสาอินทขิล ฯลฯ สุดแต่จะฮ้อง) แลต้องมี “ข่วง” ตวย คูเมือง ใคร่หันคูเมืองเก่าของเจียงฮายบ่ยากครับ ขับรถผ่อดูที่ขัวปะตู๋เจียงใหม่ หั้นแลคูเมืองตางตะวันตก ส่วนฮ่องน้ำหน้าโฮงเฮียนสามัคคีฯ กับ โฮงเฮียนเทศบาล 1 ศรีเกิด ก็เป็นคูเมืองตางใต้ แต้ๆแล้วมันเชื่อมต่อกั๋น แต่แถวๆหอนาฬิกาใหม่กับปะตู๋สรีโดนถมไปละ ส่วนคูเมืองตางตะวันออกก็อยู่ที่ปะตู๋ยางเสิ้งที่แป๋งใหม่ที่ห้าแยกอ่ะ เหลืออยู่มอกอั้นและ ลองเตียวผ่อกับขับรถเครื่องสำรวจยะหื้อหู้ว่า ระบบน้ำในคูเมืองตะก่อนจะมีก๋านผันน้ำกกเข้ามาตางสนามกอล์ฟที่ขัวแม่ฟ้าหลวง น้ำเลาะหลังดอยตอง ไหลมาตางปะตู๋ผี (แถวๆเจียงฮายคอนโด ตอนนี้ยังปอเห็นแนวคันดินที่เกยเป็นกำแปงเมืองอยู่) มาถึงปะตู๋เจียงใหม่ หน้าโฮงเฮียนสามัคคีฯ ไหลไปตางตะวันออกจะถึงหน้าโฮงเฮียนเทศบาล 1 ศรีเกิด แล้วน้ำจะไหลต่อไปที่ปะตู๋ยางเสิ้งฮิมถนนซูเปอร์ ทางน้ำจะเชื่อมต่อกับฮ่องน้ำแถวๆชุมชนเกาะทอง ก่อนจะไหลลงน้ำกกที่ฮ่องปลาเค้า ใกล้ๆสนามกีฬาก๋าง ตางน้ำแถวๆเกาะทองสีท่าจะเกยเป็นน้ำกกมาก่อน สังเกตจากชื่อบ้านนามเมือง เช่น ถนนรอบเกาะ ถนนกกโท้ง ส่วนคูเมืองตางเหนือไม่ต้องผันน้ำเพราะใจ๊น้ำกกน้อยเป็นปราการธรรมชาติ ขุดลอกหมั่นๆก็พอ แถมยังมีแม่น้ำกก (ใหญ่) เป็นปราการแหมชั้น ปะตู๋เมือง ตะก่อนเปิ้นจะมีป้ายบอกตวย แต่บ่าเดียวหายไปหลายละ 1. ปะตู๋ขะต้ำ ใกล้ๆดอยตองกับสนามกอล์ฟ 2. ปะตู๋ผี (เจียงฮายคอนโด) 3. ปะตู๋เจียงใหม่ 4. ปะตู๋ป่าแดง (แยกขัวดำ วัดมิ่งเมือง แต่ป้ายอยู่ที่สามแยกหน้า ร.ร.สามัคคี) 5. ปะตู๋หวาย (หอนาฬิกาใหม่) 6. ปะตู๋สรี (เขียนว่า สรี อย่างตั๋วเมือง) อยู่ที่โบสถ์คริสต์จักร 1 เวียงเชียงราย 7. ปะตู๋เจ้าชาย (โฮงเฮียนเทศบาล 1 ศรีเกิด) 8. ปะตูยางเสิ้ง (ที่เปิ้นแป๋งใหม่ ฮิมถนนซูเปอร์) 9. ปะตูต้อ (ท่อ) หลังอนุสาวรีย์พญามังราย 10. ปะตู๋ต้าซาย (ท่าทราย) สี่แยกบ้านพักพนักงานยาสูบ ถนนสิงหไคล ตัดกับ ถนนวิเศษเวียง 11. ปะตู๋นางอิง (สี่แยกสถานีตำหนวดเจียงฮาย) 12. ปะตู๋ต้านาค (ท่านาค) ตีนดอย ตางขึ้นศาลาก๋างหลังใหม่ พื้นที่ก๋างเวียง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเวียง เพราะเป็นศูนย์ก๋างของก๋านปกคอง มีตึงคุ้มเจ้านาย วัดสำคัญ สะดือเมือง ข่วง สะดือเมืองเจียงฮายนี้ เจ้าหลวงธรรมลังกาเปิ้นหื้อย้ายมาไว้ที่วัดจันทโลก (วัดก๋างเวียง) ตามความเชื่อของล้านนา ผ่ออย่างเมืองเจียงใหม่ หละปูน ลำปาง แป้ น่าน พื้นที่ที่สำคัญๆนี้จะอยู่ก๋างเวียงค่อนไปตางเหนือ เจียงฮายนี้ก็เป๋นอย่างเดียวกั๋น แต่บ่มีหลักฐานแน่ชัดว่าที่ไหนเป็นที่ไหน ได้ก้าสันนิษฐานกว้างๆว่าสถานที่ราชก๋านในเวียงบ่าเดียวนี้ ตะก่อนเกยเป๋นที่ของเจ้า ตึง ศาลาก๋างหลังเก่า จวนผู้ว่าฯ อำเภอ ศาล อัยก๋านจังหวัด บ้านพักพนักงานคลัง ฯลฯ เฮาลองมาเทียบ พ.ศ. ที่แป๋งผ่อ จะหันจาอี้ ศาลาก๋างหลังเก่า (2443) คอกเก่า (2451) อำเภอหลังเก่า (2477) อนุบาลเจียงฮาย (2497) ตะก่อนเป๋นที่วัดก๋างเวียง โฮงเฮียนดำรง (2476) แป๋งทับคุ้มของเจ้าหลวงเมืองไชย เจ้าหลวงองค์ที่ 4 (โดนปลด พ.ศ.2448 หลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยวเจียงฮาย) บางส่วนกิ๋นพื้นที่วัดเจียงหมั้น วัดฮ้อง ที่บ่าเดี่ยวโฮงเฮียนยังต้องจ่ายค่าเช่าหื้อกรมศาสนาอยู่ จะหันว่าตอนที่เขาแป๋งคุกหั้น คุ้มเจ้าหลวงเมืองไชยก็ยังมีอยู่ ที่ดินก็ติดกั๋น มอกมีถนนกั้นบ่าดาย ที่เฮาหู้แน่ๆก็คือ ที่คอกเก่า จะต้องเป๋นที่ของเจ้าแน่นอน แต่มันจะเป๋นหยัง ระหว่าง คุ้ม? เฮือนขี้ข้า? ที่ว่างๆ? สวน? เฮาลองไปผ่อที่เจียงใหม่ จะหันว่ามีก๋านย้ายคอกในเวียงหลายเตื้อ ส่วนใหญ่จะใจ๊คุ้มของเจ้านายเป๋นคอก ตอนหลังนักโทษนักขึ้นเปิ้นก็เลยไปแป๋งคอกที่เฮาหับบ่าเดียวก๋างเวียงเจียงใหม่ ที่นี้ตะก่อนเป็นเวียงแก้ว (คุ้มของพญามังรายน่อ ขึดขนาด) ปิ๊กมาที่เจียงฮาย คอกแป๋งปี 2451 สองปีหลังเกิดกบฏเงี้ยวเจียงฮาย ที่คอกเก่านี้น่าจะเป๋นเขตของคุ้มของเจ้าสักตน อาจจะเป๋นของเจ้าหลวง เพราะอยู่ติดกั๋น แต่นั่นเป๋นก๋านสันนิษฐานจากหลักฐานแวดล้อม ข้อมูลเรื่องหมู่นี้เจียงฮายมีหน้อยๆๆๆๆ แต่มีข้อมูลน่าเชื่ออยู่ว่า ปี พ.ศ.2434 นายถัว วิริยศิริ ซึ่งเป็นพี่ชายของพระยามหาอำมาตยาธิบดี หรือ พระยาศรีสหเทพ (เสง วิริยศิริ) ท่านได้ขึ้นมาทำแผนที่เมืองเชียงราย จากนั้นอีก 2 ปีก็ได้มีการส่งข้าหลวงขึ้นมารักษาราชการ 3 หัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้แก่ เมืองฝาง เชียงราย เชียงแสน โดยมี พ.ต.หลวงภูวนาทนฤบาลขึ้นมาเป็นข้าหลวงคนแรก หลังจากที่เมืองเชียงรายมีข้าหลวงจากกรุงเทพ และเจ้าหลวง ซึ่งเป็นเชื้อสายข้าราชการแต่งตั้งจากเจ้าหลวงทางประเทศราชจากเมืองเชียงใหม่มาร่วมกันปกครองเมืองเชียงราย หลายครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้งกัน เนื่องจากเชียงรายเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลพระเนตรพระกรรณ บ่าหู้ว่าตอนนี้แผนที่นี้อยู่ไหน ถ้าไปค้นในหอสมุดแห่งจ้าดที่กรุงเทพฯอาจจะปะ ที่สำคัญแหมเรื่องคือ “ข่วง” เมืองเจียงฮาย กู่เมืองในล้านนาจะมีข่วงเอาไว้ยะพิธีต่างๆ เช่น สืบชะต๋าเมือง ถือน้ำพิพัธสัตยา แต่ในเจียงฮาบ่มีหลักฐานว่าข่วงอยู่ไหน แต่กึดว่าน่าจะอยู่แถวๆวัดก๋างเวียงที่เป๋นวัดสำคัญกับคุ้มเจ้าหลวง เหมือนกับที่เจียงใหม่ เหมือนสนามหลวงของกรุงเทพฯ ถ้าเป๋นยุโรปเปิ้นจะห้องข่วงว่า “จัตุรัส” น่อ ส่วนเวียงก็ฮ้องว่า “burg” เช่น ฮัมบูร์ก เซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก |
โฮงเฮียนดำรง (2476) แป๋งทับคุ้มของเจ้าหลวงเมืองไชย เจ้าหลวงองค์ที่ 4 (โดนปลด พ.ศ.2448 หลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยวเจียงฮาย) บางส่วนกิ๋นพื้นที่ พื้นที่วัดเจียงหมั้น วัดฮ้อง ที่บ่าเดี่ยวโฮงเฮียนยังต้องจ่ายค่าเช่าหื้อกรมศาสนาอยู่ ตามหนังสือ ดำรงราษฎร์สงเคราะห์ ปีที่ ๗๒ ฉลองรางวัลพระราชทาน บอกว่าเช่าที่ธรณีสงฆ์ เป็นที่ตั้งอาคารเอนกประสงค์และโรงฝึกงาน นั้น ปัจจุบันคือ แจ่งมุมใดของโรงเรียน ? ใช่ด้านที่เป็นอาคารหอสมุดก่อ ? (มุมถนนอุตรกิต ตัดกับถนนวิเศษเวียง ก๋างเวียงเจียงใหม่ ที่นี้ตะก่อนเป็นเวียงแก้ว (คุ้มของพญามังรายน่อ ขึดขนาด) ตี้ข้าเจ้าสนใจเรื่อง คอกเก่าเจียงฮาย เพราะเกยได้ยิน เรื่อง คอก + ขึด นั่นแหละ อ้อ "ข่ม" แหมกำหนึ้ง ที่ข้าเจ้าบ่เข้าใจใน ความหมาย และ ความสัมพันธ์ ของ คำเหล่านี้ ขอบคุณ คุณเชียงรายพันธ์แท้ จ๊าดนัก ที่มาหื้อความรู้เรื่องฮีตฮอยเวียงเจียงฮาย วันพูกจะมาอ่านคำตอบเน้อเจ้า ในฮูป ข่วงซานมาร์โก / จัตุรัสซานมาร์โก (Piazza San Marco) ที่เวนิซ อิตาลี แป๋งประมาณ พ.ศ.1443 ตอนนี้ก็มีอายุ 1,109 ปี๋ละ ว่ากันเรื่อง “ขึด” กับ “ข่ม” บ่ใคร่อู้เรื่องจาอี้ในที่สาธารณเท่าใด เพราะมันกระทบความสัมพันธ์ล้านนา-สยามน่อ แต่ถ้ามีคนใคร่หู้มันก็ต้องอู้ล่ะน่อ ถือว่าเป๋นการเผยแพร่ความหู้ละกั๋น อย่างที่หู้ๆกั๋น ล้านนาถูกสยามผนวกดินแดนเมื่อสมัย ร.5 สยามใจ้หลากหลายวิธีในการตัดกำลังคนล้านนา เช่น การส่งข้าหลวงขึ้นมาปกครอง การส่งเสริมวัฒนธรรมกรุงเทพฯ โดยเฉพาะภาษาไทยสยาม การปฏิรูปองค์กรสงฆ์ การจัดระบบภาษี หื้อกรุงเทพฯเป๋นคนเก็บแตนเจ้าล้านนา ฯลฯ แลหนึ่งในหั้นคือการใช้ความเชื่อ บางคนอาจห้องว่าเป๋นการใช้ไสยศาสตร์ โดยการ “ข่ม” ดวงเมือง ยะอะหยังที่มัน “ขึด” หื้อคนล้านนาหู้สึกบ่ดี ตั๋วอย่างที่หันได้ชัดๆ ก็เป๋นที่เจียงใหม่ ส่วนที่เจียงฮายเป๋นเมืองหน้อยๆ สมัยก่อนเขาบ่ปอสนใจ๋ มาผ่อกั๋นที่เจียงใหม่ ว่าสยามเขายะหยังไว้พ่อง หลายคนอาจจะเกยไปมาไหนแถวๆ “ปะตู๋จ๊างเผือก” สมัยก่อนจะมีน้ำพุอยู่ ประวัติโดยการลักจำเอาเขาว่ากันว่า ปะตู๋จ๊างเผือกนั้นเป็นปะตู๋ทิศเหนือ ซึ่งเป๋นทิศมงคล เป็นตางผ่านเฉพาะกษัตริย์เวลาเข้าเวียง สมัย ร.5 ต้องการ “ข่มดวงเมือง" จึงได้ยะเรื่องหมู่นี้ 1. แป๋ง คอก คร่อมคุ้มกลางเวียง ซึ่งเป๋นคุ้มเวียงแก้วของพญามังราย 2. ตัดถนนผ่ากลางวัดสะดือเมือง อันเป็นวัดที่ตั้งตามตำแหน่งศูนย์กลางเมือง 3. ให้มีการขนศพออกทางปะตู๋ช้างเผือกที่เป๋นมงคลได้ พร้อมกับเซาะอะหยังมาอุด (ต๋อนหลังแป๋งเป๋นน้ำพุ บ่าเดี่ยวเตแล้ว) ส่วนอันนี้กะลังหายะเมื่อ 50 ปี๋ก่อน 4.แป๋งบ้านของ “คนที่คุณก็หู้ว่าเป๋นไผ” บนดอยปุย ข่มพระธาตุดอยสุเทพ เพราะดอยปุยสูงกว่าแลอยู่หลังดอยสุเทพ สิ่งหมู่นี้ยะหื้อเกิด “ขึดเมือง” ซึ่งมาจากการ “ข่มดวงเมือง” ข่มเจียงใหม่ ข่มล้านนา หื้ออยู่ปื้นตี๋นคนใต้ ไอ่ “ขึด” นี่มันแปลว่าการกระทำให้ ให้เกิด ความ บ่งาม บ่ควรหั้นแลครับ บ้านเมืองจะได้บ่เจริญงอกงาม บ่สามารถท้าทายอำนาจกรุงเทพฯได้ตลอดไป แนะนำ http://www.cmocity.com/park/basic_info.html เรื่องวัดเจียงหมั้น โฮงเฮียนดำรงฯ อันนี้บ่แน่ใจ๋ครับ ต้องไปขอผ่อโฉนดของเปิ้นก่อน ไผมีเพื่อนยะก๋านที่ที่ดินจังหวัดก็ฝากผ่อหื้อจิ่มน่อ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น