วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

QUARK-1

ควาร์ก

         ควาร์ก คือ ชื่อเรียกอนุภาคมูลฐานที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดจริง ๆ ของสสารตามทฤษฎีใหม่ขององค์ประกอบของสสาร

         ผู้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับควาร์กขึ้นมา คือ นักฟิสิกส์ ชื่อ เมอร์เรย์ เกลล์แมนน์ (Murray Gellmann) เขาให้ความคิดเรื่องควาร์กขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2507 เพื่ออธิบายองค์ประกอบพื้นฐานของอะตอมทั้งหมดที่มีอยู่ในธรรมชาติ

         ก่อนการเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับควาร์ก เป็นที่เข้าใจกันว่าบรรดาอนุภาคดังเช่น โปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน มีซอน ไพออน ฯลฯ ล้วนเป็นอนุภาคมูลฐาน คือ เล็กที่สุดแล้ว

         ต่อมา เมอร์เรย์ เกลล์แมนน์ ก็เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับควาร์กขึ้นมา ซึ่งในตอนแรก ๆ ก็เป็นแบบง่าย ๆ ว่าบรรดาอนุภาคที่เคยเชื้อกันมาก่อนว่าเป็นอนุภาคมูลฐาน คือ บรรดาโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน จริง ๆ แล้วล้วนแต่ประกอบด้วยอนุภาคเล็กลงไปอีกเป็นอนุภาคมูลฐานจริง ๆ เรียกว่า ควาร์ก และมีทั้งหมด 3 ชนิด รวมกับแอนติควาร์ก (antiquark) ด้วยของแต่ละชรนิด จำนวนของควาร์กจึงมีด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด

         ทว่า ต่อมารายละเอียดทฤษฎีเกี่ยวกับควาร์กก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยมา จนกระทั่งล่าสุดมีการตั้งเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับอนุภาคมูลฐานขึ้นมาใหม่ว่า อนุภาคมูลฐานทั้งหมดแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ (1) ควาร์ก และ (2) เลปตอน (lepton) โดยที่จำนวนควาร์กล่าสุดอาจมีมากถึง 9 ชนิด บวกกับแอนติควาร์กอีก 9 ชนิด รวมเป็นควาร์กทั้งหมด 18 ชนิด

         ส่วนเลปตอนก็ประกอบด้วยอิเล็กตรอน มิวออน นิวตริโน และอนุภาคเทา (tau particle) ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะคือ มีประจุไฟฟ้าเป็นจำนวนเต็มของอิเล็กตรอนคือ +1 หรือ -1

         สำหรับควาร์กมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว คือ เป็นอนุภาคมีประจุไฟฟ้าไม่เป็นจำนวนเต็มของอิเล็กตรอน หากมีประจุไฟฟ้าเป็นเศษส่วน ฑ 1/3 หรือ ฑ 2/3

         บรรดาอนุภาคดังเช่น โปรตอน นิวตรอน ล้วนแต่ประกอบขึ้นมาจากควาร์กจำนวนหนึ่ง เช่น โปรตอนประกอบด้วยควาร์ก 3 ตัว นิวตรอนก็เช่นเดียวกัน คือ ประกอบด้วย ควาร์ก 3 ตัว

         สำหรับชื่อของควาร์ก ก็ได้รับการตั้งชื่อเรียกกันแปลก ๆ คือ สำหรับควาร์ก 6 ตัวแรกรวมอยู่ในกลุ่มอนุภาคมี flover (ที่แปลว่า รส แต่ในที่นี้มิได้หมายถึง รสอาหาร)

         flover ของควาร์ก 6 ตัว มีชื่อเรียกดังนี้

         (1) อนุภาค up (แปลว่า ขึ้น ใช้ตัวย่อ u มีประจุไฟฟ้า + 2/3 ของอิเล็กตรอน)

         (2) อนุภาค down (แปลว่า ลง ใช้ตัวย่อ d มีประจุไฟฟ้า -1/3)

         (3) อนุภาค charmed (แปลว่า เสน่ห์ ใช้ตัวย่อ c มีประจุไฟฟ้า +2/3)

         (4) อนุภาค strange (แปลว่า แปลก ใช้ตัวย่อ s มีประจุไฟฟ้า -1/3)

         (5) อนุภาค top (แปลว่า บนสุด ใช้ตัวย่อ t มีประจุไฟฟ้า +2/3)

         (6) อนุภาค bottom (แปลว่า ต่ำสุด ใช้ตัวย่อ b มีประจุไฟฟ้า -1/3)

ที่มา http://www.doodaw.com/article/index.php?topic=humanuniver525

ไม่มีความคิดเห็น: